บทคัดย่องานวิจัย

การทดสอบคุณภาพทางกายภาพของสายพันธุ์ข้าวขึ้นน้ำและข้าวทนน้ำลึก (ระยะที่ 3)

นิวัติ เจริญศิลป์ ประโยชน์ เจริญธรรม และ ประเวศน์ ศิริเดช

รายงานผลการวิจัยข้าวขึ้นน้ำ และข้าวทนน้ำลึก ประจำปี 2537 ศูนย์วิจัยข้าวปราจีนบุรี สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร. หน้า 199.

2537

บทคัดย่อ

การทดสอบคุณภาพทางกายภาพของสายพันธุ์ข้าวขึ้นน้ำและข้าวทนน้ำลึก

คุณภาพของเมล็ดข้าวเป็นปัจจัยสำคัญที่จะต้องคำนึงถึงในการที่จะนำข้าว

ออกแนะนำให้เกษตรกรต่อไป จึงควรนำข้าวสายพันธุ์ต่าง ๆ จากการปรับปรุงพันธุ์มาศึกษา

ลักษณะทางกายภาพเพื่อคัดเลือกให้ได้มาตรฐานคุณภาพเมล็ด จึงได้ศึกษาคุณภาพทาง

กายภาพของข้าวขึ้นน้ำและข้าวทนน้ำลึก จากงานทดลองปรับปรุงพันธุ์ เพื่อให้ได้พันธุ์ข้าว

ที่มีลักษณะทางกายภาพของเมล็ดที่ได้มาตรฐาน สุ่มตัวอย่างข้าวสายพันธุ์ต่าง ๆ ที่นำมา

ทดสอบสายพันธุ์ประมาณ 200 กรัม แล้วนำไปศึกษาลักษณะท้องไข่ สีเปลือก ความกว้างยาง

หนาของเมล็ด ในห้องปฏิบัติของศูนย์วิจัยข้าวปราจีนบุรี ในปี 2537 ได้ดำเนินการวิเคราะห์

คุณภาพทางกายภาพข้าว จากงานทดลองเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานีจำนวน 240

ตัวอย่าง งานเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานี จำนวน 116 ตัวอย่าง แปลงเปรียบเทียบ

ผลผลิตในนาราษฎร์ จำนวน 147 ตัวอย่าง การศึกษาพันธุ์ 142 ตัวอย่าง และการรวบรวม

พันธุกรรม 54 ตัวอย่าง พบว่าข้าวส่วนใหญ่มีระดับท้องไข่สูงมีเมล็ดยาง เรียว เปลือกสีฟาง