บทคัดย่องานวิจัย

การทดสอบเทคโนโลยีการผลิตมังคุดเพื่อการส่งออก

อัมพิกา ปุนนจิต สุขวัฒน์ จันทรปรรณิก หิรัญ หิรัญประดิษฐ์ เสริมสุข สลักเพ็ชร์ วันทนีย์ ชุ่มจิตต์ และ ชลธี นุ่มหนู

รายงานผลการวิจัย ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, จันทบุรี.

2537

บทคัดย่อ

การทดสอบเทคโนโลยีการผลิตมังคุดเพื่อการส่งออก

สรุปผลการทดลอง

      หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ต้นมังคุดควรมีการแตกใบอ่อนอย่างน้อย 1 ชุด ภายใน

เดือนกันยายน ซึ่งอาจทำการกระตุ้นได้โดยการตัดแต่งกิ่ง การใส่ปุ๋ย หรือการใช้สารไทโอ

ยูเรีย 2,500 ppm + น้ำตาลเด็กซ์โตรส 600 กรัม/น้ำ 20 ลิตร หรือยูเรีย 200-400

กรัม/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นมังคุด เมื่อมังคุดแตกใบอ่อนแล้ว  ต้องทำการป้องกัน

กำจัดศัตรูพืชที่จะเข้าทำลายใบอ่อน  (เพลี้ยไฟ และเชื้อราสาเหตุโรคใบจุด) โดยการฉีด

พ่นสารเคมีตามคำแนะนำของกองกีฏและสัตววิทยา และกองโรคพืชและจุลชีววิทยา ต้น

มังคุดที่ได้รับการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม  จะมีสภาพความสมบูรณ์ต้นสูง  ใบแก่เต็มที่

และพร้อมที่จะออกดอกในเดือนธันวาคม เมื่อมีการจัดการน้ำเหมาะสม  โดยให้มีสภาวะ

แล้งต่อเนื่องระยะหนึ่งก่อนเริ่มการให้น้ำตามปกติ เพื่อชักนำให้มีการสร้างตาดอก  มังคุด

ที่ออกดอกในเดือนธันวาคม จะสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในช่วงเดือน เมษายน- ต้นเดือน

พฤษภาคม คุณภาพของผลมังคุดจะดี อาการยางไหลภายในผลและเนื้อแก้วไม่มี  หรือมี

น้อยมาก

    การปลิดดอกหรือผลให้เหลือประมาณ 8-10 ดอก/ผล ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร ของ

ทรงพุ่ม ภายในเวลาที่กำหนด (ไม่เกิน 4 สัปดาห์หลังดอกบาน) มีอิทธิพลต่อการพัฒนา

การของผล และต่อการเข้าชั้นมาตรฐานระดับต่างๆ จำนวนผลและ/หรือเปอร์เซ็นต์ของ

ผลมังคุดที่เข้าชั้นมาตรฐานระดับกลาง และระดับ Jumbo เพิ่มขึ้น

    กรรมวิธีเสริมโดยการฉีดพ่นสารอาหารกึ่งสำเร็จรูป Crop Giant + Florigen

สัปดาห์ละ 1 ครั้ง เริ่มตั้งแต่สัปดาห์ที่ 4-6 หลังดอกบาน จะมีอิทธิพลต่อการเพิ่มจำนวน

ผลที่เข้าชั้นมาตรฐานระดับกลางและระดับ Jumbo เช่นกัน กรรมวิธีต่าง ๆ ที่ใช้ในการ

ทดลองไม่มีผลกระทบต่อน้ำหนักผลเฉลี่ย และผลผลิต/ต้น ของมังคุด

งานที่จะดำเนินการต่อไป

    ทำการทดลองซ้ำในฤดูกาลผลิต 2537/2538 เพื่อยืนยันผล ก่อนรวบรวมข้อมูล

วิเคราะห์ และสรุปผลต่อไป