บทคัดย่องานวิจัย

การศึกษาคุณภาพเมล็ดทางกายภาพของเมล็ดพันธุ์ข้าวนาชลประทานสายพันธุ์ดีภาคใต้ (ระยะที่ 2)

ชูชาติ สวนกูล สุเทพ ฤทธิ์แสวง มนูญ กาญจนภักดิ์ วิเชียร พงศาปาน และ จิณะรัตน์ สุวรรณวงศ์

รายงานการวิจัย ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร

2537

บทคัดย่อ

การศึกษาคุณภาพเมล็ดทางกายภาพของเมล็ดพันธุ์ข้าวนาชลประทานสายพันธุ์ดีภาคใต้

1. ตัวอย่างเมล็ดพันธุ์ข้าว จากการปรับปรุงพันธุ์ข้าวนาชลประทานของ

ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง และสถานีเครือข่าย 2. เครื่องมือเครื่องใช้ในการตรวจสอบคุณภาพ

เมล็ด เช่น 2.1 เครื่องทำความสะอาดเมล็ด เครื่องวัดความชื้น เครื่องตวง และเครื่องชั่ง

2.2 เครื่องกระเทาะเปลือก เครื่องขัดข้าวสารและเครื่องคัดแยกข้าวหัก 2.3 เครื่องวัด

ขนาดเมล็ด กระดานคัดท้องไข่และเครื่องมือเครื่องใช้อื่น ๆ วิธีการ 1. วัดขนาดเมล็ด

ความยาว กล้างและหนา ตัวอย่างละ 10 เมล็ด แล้วหาค่าเฉลี่ย 2. ประเมินค่าท้องไข่

จากข้าวสารเต็มเมล็ดที่สมบูรณ์ 100 เมล็ด 3. ตรวจสอบสีข้าวเปลือก และข้าวปนด้วย

ตาเปล่า 4. หาคุณภาพการสี วิเคราะห์เป็นบางการทดลองเท่านั้น ผลงานที่ได้ปฏิบัติมา

แล้ว จากการวิเคราะห์เมล็ดพันธุ์ข้าวนาชลประทานสายพันธุ์ดีภาคใต้ ที่ปลูกในฤดูนาปี

2536 จำนวน 366 สายพันธุ์ ผลการวิเคราะห์คุณสมบัติทางกายภาพ พบว่า ส่วนใหญ่

มีเปลือกสีฟาง และสีน้ำตาล เมล็ดยาวเรียว ผลการประเมินค่าท้องไข่ พบว่า ส่วนใหญ่

ท้องไข่ระดับปานกลาง งานการวิเคราะห์คุณภาพทางกายภาพข้าวนาชลประทาน ซึ่ง

ได้รับตัวอย่างข้าวจากศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง และสถานีทดลองเครือข่าย จำนวนทั้งสิ้น

366 ตัวอย่างปลูกในฤดูนาปี 2536/37 ส่วนใหญ่มีเปลือกสีฟาง เมล็ดยาวเรียว มี

ท้องไข่ระดับปานกลาง