บทคัดย่องานวิจัย

ผลการสุกแก่ของเมล็ดและอายุการเก็บเกี่ยวต่อคุณภาพของข้าวบาสมาติ

สุภาณี จงดี ละม้ายมาศ ยังสุข มงคล มั่นเหมาะ ราตรี บุญญา และสง่า ไชยมงคล

รายงานการวิจัย ศูนย์วิจัยข้าวแพร่ สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร

2536

บทคัดย่อ

ผลการสุกแก่ของเมล็ดและอาจะการเก็บเกี่ยวต่อคุณภาพของข้าวบาสมาติ

อายุการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมเป็นปัจจัยหนึ่งที่ยกระดับคุณภาพข้าวให้เป็นไปตามความต้องการ

ของตลาด การทดลองนี้ใช้ข้าวหอม 4 พันธุ์ ได้แก่ บาสมาติ 370 บาสมาติ 123 บาสมาติ 213c

และขาวดอกมะลิ 105 วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 4 ซ้ำ ปลูกโดยวิธีตกกล้า ปักดำ

แล้วทำการเก็บเกี่ยวในช่วงต่าง ๆ กันได้แก่ 20 25 30 35 และ 40 วันหลังข้าวออกดอก

แล้วนำเมล็ดไปวิเคราะห์คุณภาพทางกายภาพและคุณภาพทางเคมี ดำเนินการทดลองที่

ศูนย์วิจัยข้าวแพร่และสถานีทดลองข้าวสันป่าตอง นาปี 2536 ผลการทดลอง

ที่ศูนย์วิจัยข้าวแพร่ พบว่าทั้งพันธุ์ข้าวและทุกวันเก็บเกี่ยวมีความแตกต่างกันทางสถิติ

ในการทดสอบคุณภาพการสี (ระดับคุณภาพการสีประเมินจากจำนวนเปอร์เซ็นต์ของข้าว

เต็มเมล็ดและต้นข้าวหลังจากนำข้าวเปลือกผ่านคุณภาพการสี ถ้าได้มากกว่า 50 = ดีมาก

40-50 = ดี 31-39 = ต่ำ ) สำหรับอายุการเก็บเกี่ยวหลังข้าวออกดอกในช่วงต่าง ๆ กัน

พบว่า พันธุ์ข้าวบาสมาติ 370 ให้คุณภาพการสีดี (46-49) เมื่อเก็บเกี่ยว 30-40 วัน

หลังออกดอก ข้าวบาสมาติ123 ให้คุณภาพการสีดีมากเมื่อเก็บเกี่ยวช่วง 30-40 วัน

หลังออกดอก (55-59) และข้าวบาสมาติ 213c ให้คุณภาพการสีดีเมื่อเก็บเกี่ยวในช่วง

35-40 วันหลังออกดอก (44-47) ส่วนข้าวขาวดอกมะลิ 105 นั้น ให้ระดับการสีดีมาก

(52-78) เมื่อเก็บเกี่ยวในช่วง 25-30 วันหลังออกดอก ส่วนคุณสมบัติทางเคมีของ

ข้าวหอมทั้ง 4 พันธุ์ พบว่าวันเก็บเกี่ยวต่างกันไม่ทำให้คุณภาพข้าวสุกเปลี่ยนแปลง

ทั้งปริมาณอะมิโลส ความคงตัวของแป้งสุก ค่าการสลายเมล็ดในด่าง อุณหภูมิแป้งสุก

และความหอม