บทคัดย่องานวิจัย

ศึกษาอายุการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมของผลพลับฝาดในการทำพลับแห้ง

บัณฑิต จันทร์งาม จำรอง ดาวเรือง พันธ์ราย ภักดีจิตร เพ็ญจันทร์ กิตติรัตนชัย และประสงค์ มั่นสลุง

รายงานประจำปี 2536 สำนักงานการเกษตรที่สูง สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, เชียงใหม่. 67 หน้า.

2537

บทคัดย่อ

ศึกษาอายุการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมของผลพลับฝาดในการทำพลับแห้ง

การทำพลับแห้งสามารถทำได้หลายวิธี แต่ที่นิยมกันมากอีกวิธีหนึ่งคือ การนำเอาผลพลับที่สุกแล้ว

มาปอกเปลือก นำไปอบแห้งโดยการผึ่งแดด แต่วิธีดังกล่าวมักพบปัญหาเกี่ยวกับผลพลับมักจะสุก

งอมอย่างรวดเร็วและเน่าเสียในขณะทำการผึ่งแดด และคุณภาพของพลับแห้งก็ขึ้นอยู่กับระยะการ

สุกของผลพลับด้วย ดังนั้นจึงได้ทำการศึกษาอายุการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมที่จะนำไปทำพลับแห้ง

เพื่อลดความเสียหายที่เกิดขึ้นพร้อมกับได้พลับแห้งที่มีคุณภาพดี โดยวางแผนทดลองแบบ RCB

มี 5 ซ้ำ 4 วิธีการ คือใช้ระยะสุกของผลพลับ 20, 40, 60 และ 80 ปอกเปลือกและนำไปผึ่งในโรงอบ

ชั่วคราว  ในปี 2535 ทำการทดลองที่สถานีทดลองเกษตรที่สูงวาวี จ.เชียงราย ในช่วงเดือนสิงหาคม

ซึ่งเป็นช่วงผลพลับสุกและเป็นช่วงฤดูฝนมีเมฆปกคลุมความชื้นในอากาศสูง แสดงแดดน้อย ทำให้ผล

พลับที่ใช้ทดลองเน่าเสียหายทั้งหมดจึงไม่สามารถเก็บข้อมูลสรุปผลได้ ต่อมาในปี 2536 จึงได้เปลี่ยน

สถานที่ทดลอง โดยทำการทดลองที่สำนักงานการเกษตรที่สูงแม่เหียะ จ.เชียงใหม่ ทำการทดลอง

ในช่วงปลายเดือนกันยายนถึงสิงหาคม ระยะในการอบ 12 วัน จากการทดลองพบว่า ความเสียหายซึ่ง

เกิดจากผลเน่า และถูกเชื้อราเข้าทำลายมีความแตกต่างกันทางระดับนัยสำคัญยิ่ง ระยะสุก 20 มีความ

เสียหายน้อยที่สุดคิดเป็นร้อยละ 2 ส่วนระยะสุก 40, 60 และ 80มีความเสียหายคิดเป็นร้อยละ 28, 47

และ 55 ตามลำดับ ส่วนทางด้านคุณภาพนั้นปรากฏว่า ระยะสุก 60 และ 80 มีคุณภาพใกล้เคียงกันคือ

หลังอบแล้วผลพลับแห้งมีสีน้ำตาลเข้ม เนื้อค่อนข้างนิ่มรสหวาน ส่วนระยะสุก 20 และ 40 นั้นหลังอบสี

ของผลพลับแห้งจะมีสีน้ำตาลปนดำหรือคล้ำ เนื้อค่อนข้างแข็ง รสหวานแต่ยังมีความฝาดหลงเหลืออยู่

อย่างไรก็ตามการทดลองในครั้งนี้ถึงแม้จะพอสรุปได้ว่า การใช้ผลพลับที่มีระยะสุก 60 และ 80 มีคุณภาพ

ใกล้เคียงกันคือหลังอบแล้วผลพลับแห้งมีสีน้ำตาลเข้ม เนื้อค่อนข้างนิ่มรสหวาน