บทคัดย่องานวิจัย

การทดสอบคุณภาพทางกายภาพของสายพันธุ์ข้าวขึ้นน้ำและข้าวทนน้ำลึก (ระยะที่ 2)

นิวัติ เจริญศิลป์ และ ประโยชน์ เจริญธรรม

รายงานผลการวิจัยข้าวขึ้นน้ำ และข้าวทนน้ำลึก ประจำปี 2535 ศูนย์วิจัยข้าวปราจีนบุรี สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร.

2535

บทคัดย่อ

การทดสอบคุณภาพทางกายภาพของสายพันธุ์ข้าวขึ้นน้ำและข้าวทนน้ำลึก

ที่ราบลุ่มภาคกลางหลายจังหวัดเป็นแหล่งผลิตข้าวขึ้นน้ำ ซึ่งให้ผลผลิตต่ำ และมีคุณภาพต่ำ ไม่เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค โครงการปรับปรุงพันธุ์ข้าวขึ้นน้ำและข้าวทนน้ำลึก นอกจากจะต้องหาพันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตสูงแล้ว ยังต้องหาลักษณะคุณภาพที่ดีของข้าวไว้ในข้าวพันธุ์ใหม่ด้วย ในการปรับปรุงพันธุ์เพื่อให้ได้สสยพันธุ์ที่ดี บางครั้งจำเป็นต้องนำข้าวที่ขึ้นน้ำได้ดีให้ผลผลิตสูง แต่คุณภาพเมล็ดไม่ดีมาผสมกับข้าวที่มีคุณภาพเมล็ดดี แต่ให้ผลผลิตต่ำ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องทำการคัดเลือกหาสายพันธุ์ที่มีคุณภาพเมล็ดดี ควบคู่ไปกับการให้ผลผลิตสูง ในปี 2535 ได้นำตัวอย่างเมล็ดพันธุ์ข้าว จากงานทดลองปรับปรุงพันธุ์ข้าวขึ้นน้ำและข้าวทนน้ำลึกของศูนย์วิจัยข้าวปราจีนบุรี ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก สถานีทดลองข้าวหันตรา สถานีทดลองข้าวคลองหลวง สถานีทดลองข้าวสุพรรณบุรี สถานีทดลองข้าวโคกสำโรง และสถานีทดลองข้าวนอนแก่น รวม 498 ตัวอย่าง มาทำการวิเคราะห์คุณภาพทางกายภาพ ได้แก่ สีเปลือก ความกว้าง ความยาว และความหนาของเมล็ด และระดับการเป็นท้องไข่ ผลปรากฏว่า ข้าวจากแปลงเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานีทุกสายพันธุ์มีเมล็ดยาว รูปร่างเรียว การเป็นท้องไข่มีความแปรปรวนไปตามสภาพแวดล้อมของสถานที่ทดลอง กล่าวคือ ข้าวจากศูนย์วิจัยข้าวปราจีนบุรี มีระดับความเป็นท้องไข่สูงหว่าข้าวจากสถานีทดลองข้าวหันตรา และศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ตามลำดับ อย่างไรก็ตามพบว่า มีข้าวบางสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง และมีความเป็นท้องไข่อยู่ในระับต่ำในทุกสาถานที่ทดลอง ได้แก่ สายพันธุ์ DWCT82-1-2-4, DWCT82-1-10, BKNFR82002-1-2-9-6, BKNFR52002-2-5-4-5 และ HTA84022-18-1  (*** ที่เหลือดูจากต้นฉบับ)