บทคัดย่องานวิจัย

การศึกษาปริมาณเส้นใยปอสาบางสายพันธุ์ที่พบในภาคเหนือ

พงศ์พันธุ์ จึงอยู่สุข อำไพ เจริญวงศ์ อินรัตน์ เสราดี และ เพิ่มศักดิ์ สุภาพรเหมินทร์

รายงานผลการวิจัยประจำปี 2535 ข้าวโพด ทานตะวัน ถั่วลิสง และพืชท้องถิ่นที่สำคัญ ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ และสถานีทดลองพืชไร่ศรีสำโรง สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, เชียงใหม่. หน้า 158-165. 420 หน้า.

2537

บทคัดย่อ

การศึกษาปริมาณเส้นใยปอสาบางสายพันธุ์ที่พบในภาคเหนือ

ได้ทดลองนำเปลือกต้นปอสา จากแปลงศึกษาพันธุ์ปอสาเบื้องต้น จำนวน 26 ตัวอย่างมาศึกษาคุณของเปลือก ปริมาณ สีและขนาดของเส้นใย หลังการต้มด้วยโซเดียมไฮตรอกโซด์และฟอกสีด้วยแคลเซียมโฮโปคลอไรท์  จากการศึกษาปรากฏว่าในจำนวนตัวอย่างทั้งหมด สามารถจัดให้เป็นชั้นคุณภาพ A 9 ตัวอย่าง ชั้นคุณภาพ B 1 ตัวอย่าง และชั้นคุณภาพ C 16 ตัวอย่าง ภายหลังจากการต้มด้วย 10 เปอร์เซ็นต์ โซเดียมไฮดรอกโซด์และฟอกสีด้วย 1.5 เปอร์เซ็นต์ แคลเซียมไฮโปคลอไรด์แล้ว สีของเส้นใยปอทุกชั้นคุณภาพคล้ายครึงกัน และปริมาณเส้นใยก่อนฟอก 46 เปอร์เซ็นต์ และหลังฟอก 42 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนักเปลือกแห้ง มีขนาดเส้นใย 10-27 ไมครอนหรือ 18 ไมครอนโดยเฉลี่ย จากสี ปริมาณและขนาดของเส้นใยที่วัดได้ ยังไม่สามารถทำให้เห็นความแตกต่างกันอย่างชัดเจน  ในระหว่างปอสาในกลุ่มคุณภาพ A B และ C