บทคัดย่องานวิจัย

ศึกษาวิธีป้องกันการทำลายของแมลงข้าวเปลือกในโรคเก็บโดยใช้สารคลุกเมล็ด (ระยะที่ 2)

นิวัติ เจริญศิลป์ และ ประโยชน์ เจริญธรรม

รายงานการวิจัย ศูนย์วิจัยข้าวปราจีนบุรี สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร

2535

บทคัดย่อ

ศึกษาวิธีป้องกันการทำลายของแมลงข้าวเปลือกในโรคเก็บโดยใช้สารคลุกเมล็ด

แมลงเป็นศํตรูที่สำคัญของข้าวหลังเก็บเกี่ยว แมลงที่พบว่ามักจะเข้าทำลายข้าวในโรงเก็บมีหลายชนิด เช่น ผีเสื้อข้าวเปลือก มอดข้าวเปลือก และมอดข้าวสาร เป็นต้น (ชูวิทย์,2535) ในการทำลายของแมลงดังกล่าว จะมีผลทำให้ความมีชีวิตของเมล็ดลดลงอย่างรวดเร็ว (Cristensen,1974) และยังมีผลให้เกิดการสูญเสียด้านน้ำหนัก คุณภาพ และคุณค่าทางอาหารของเมล็ดด้วย (ชูวิทย์,2532) เกษตรกรที่ปลูกข้าวขึ้นน้ำโดยทั่วไปมักจะเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าวไว้ในกระสอบปุ๋ย แล้วนำไปวางไว้ในโรงเก็บหรือยุ้งฉาง หรือใต้ถุนบ้าน และส่วนมากไม่มีการควบคุมหรือป้องกันการทำลายของแมลง จะพบว่ามีการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูเหล่านี้บ้าง แต่มักจะใช้วิธีพ่นหรือคลุกเมล็ดด้วยสารเคมี เช่น มาลาไธออน (Malathion) พิริมิฟอส-เมทธิล แต่การใช้สารเคมีเหล่านี้นอกจากจะมีคาราแพงแล้ว ยังมีอันตรายต่อผู้ใช้ หรืออาจมีผลตกค้างในผลผลิตด้วย ดังนั้นในการศึกษาครั้งนี้ได้ทดสอบการใช้พืชบางชนิดและสารอื่น ๆ ที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการทำลายของแมลงในโรงเก็บเมล็ดพันธุ์ และไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ โดยนำน้ำคั้นจากสะเดา (Azadirachta indica) และสาบเสือ (Eupatorium odoratum) ในอัตราใบสะเดาและสาบเสือ 20 กรัม/น้ำ 20 มล./เมล็ดพันธุ์ 1 กก.  และปูนขาว อัตรา 20 กรัม/เมล็ดพันธุ์ 1 กก.มาคลุกเมล็ดเปรียบเทียบกับสารเคมีฟิริมิฟอส-เมทธิล (Pyrimiphos-methyl) อัตร 1-2 มล./น้ำ 20 มล./เมล็ดพันธุ์ 1 กก. และการำม่ใช้สารใด ๆ มรข้าวขึ้นน้ำและข้าวทนน้ำลึก จำนวน 3 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์เล็บมือนาง 111,กข 19  และหันตรา 60 แล้วนำไปเก็บไว้ที่ฉางของศูนย์วิจัยข้าวปราจีนบุรี หลังจากนั้นสุ่มเมล็ดมาทดสอบเปอร์เซ็นต์เมล็ดที่ถูกแมลงทำลาย การสูญเสียน้ำหนักเมล็ด เปอร์เซ็นต์ความงอก น้ำหนักแห้งของต้นกล้า และเปอร์เซ็นต์ข้าวหัก ทุกเดือนเป็นเวลา 8 เดือน ผลปรากฎว่า การใช้น้ำคั้นจากใบสะเดา สาบเสือ และปูนขาว สามารถป้องกัน    (มีต่อโปรดดูต้นฉบับ.......)