บทคัดย่องานวิจัย

การวิเคราะห์และประเมินคุณสมบัติเมล็ดทางกายภาพของข้าวบาสมาติ จากโครงการวิจัยพันธุ์ รับรองพันธุ์และกระจายพันธุ์ข้าวและธัญพืชเมืองหนาว (ระยะที่ 1)

เครือวัลย์ อัตตะวิริยะสุข รุจี กุลประสูติ อนงค์ พุฒเพ็ง และ สุนันทา หมื่นพล

รายงานวิจัยประจำปี 2535 ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร

2535

บทคัดย่อ

การวิเคราะห์และประเมินคุณสมบัติเมล็ดทางกายภาพของข้าวบาสมาติ จากโครงการวิจัยพันธุ์ รับรองพันธุ์และกระจายพันธุ์ข้าวและธัญพืชเมืองหนาว

การประเมินคุณสมบัติเมล็ดทางกายภาพของข้าวบาสมาติจากโครงการวิจัยพันธุ์ รับรองพันธุ์ กระจายพันธุ์ข้าวและธัญพืชเมืองหนาวในปี พ.ศ.2535 ได้รับข้าวทั้งสิ้น 280 ตัวอย่าง เป็นข้าวจาก 2 การทดลองคือ การทดลองเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานี 24 เบอร์ 6 แหล่งปลูก และข้าวเปรียบเทียบผลผลิตในนาเกษตรกร 8 เบอร์ 17 แหล่งปลูก ในความรับผิดชอบของศูนย์วิจัยข้าว 3 แห่ง (PRE PSL และ PTT) และสถานีทดลองข้าว 7 แห่ง (PAN SPT CNT SPR RBR KLG SRN และ SKN ผลการวิเคราะห์มีดังนี้  ข้าวเปรียบเทียบผลผลิตระหว่าวสถานีในจำนวน 16 เบอร์ (เบอร์ 1 ถึง 12 และ 19 ถึง 22) ของทั้ง 6 แหล่งลูก ข้าวเบอร์ 10 (BMT443) ซึ่งเมล็ดใหญ่เหมือนข้าวไทยไม่ใช่ข้าวบาสมาติ และเบอร์ 1,4,7,8 บางแห่งก็เหมือรข้าวบาสมาติ บางแห่งก็ไม่เหมือนส่วน ที่เหลืออีก 11 เบอร์ เมล็ดเป็นข้าวบาสมาติ สำหรับเบอร์ 13-18 เป็นข้าวคนละชุดกันระหว่างภาคกลางกับภาคเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะเมล็ดเป็นข้าวบาสมาติแต่มักมีข้าวปน  ข้าวการทดลองชุดนี้ส่วนใหญ่มีเปลือกสีฟาง ก้นจุด และมีหาง - แปรปรวน ตั้งแต่ 5-100 มีความยาวของเมล็ดระหว่าง 6.99-7.92 มม. แตส่วนใหญ่ยาวเกิน 7.30 มม. ขึ้นไปความกว้างของเมล็ดอยู่ระหว่าง 1.71-2.14 มม. และความหนาระหว่าง 1.64-1.78 มม. อัตราส่วนระหว่างความยาวต่อความกว้าง คือ 3.49-4.16 แต่ส่วนใหญ่ 3.6 ขึ้นไป 15 ใน 22 พันธุ์ เป็นท้องไข่ระดับเป็นมาก ค่าท้องไข่อยู่ระหว่าง 1.91-2.59 อีก 7 พันธุ์ เป็นน้อยถึงปานกลาง (0.79-1.41)  (โปรดดูต่อที่ต้นฉบับ)