บทคัดย่องานวิจัย

ตรวจสอบคุณภาพการสีของข้าวนาสวนนาชลประทาน (ระยะที่ 2)

สุภาณี จงดี ราตรี บุญญา และ มงคล มั่นเหมาะ

รายงานวิจัย ศูนย์วิจัยข้าวแพร่ สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร

2534

บทคัดย่อ

ตรวจสอบคุณภาพการสีของข้าวนาสวนนาชลประทาน

เมล็ดข้าวที่นำมาวิเคราะห์ ได้จากแปลงเปรียบเทียบผลผลิตข้าวนาสวนในนาราษฎร์ ปี 2534 ซึ่งจำแนกหมวดหมู่ของข้าวเป็นข้าวชุดไวต่อช่วงแสง และชุดไม่ไวต่อช่วงแสง ชุดละ 8 พันธุ์/สายพันธุ์ ดำเนินการในเขตจังหวัด ความรับผิดชอบของศูนย์วิจัยข้าวแพร่ ข้าวชุดไวต่อช่วงแสงดำเนินการทดลองในนาเกษตร ที่ อ.เมือง อ.แม่ใน จ.พะเขา อ.ลอง จ.แพร่ และ อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน โดยใช้พันธุ์ กข 6 และ ข้าวดอกมะลิ 105 เป็นพันธุ์เปรียบเทียบ ผลการวิเคราะห์คุณภาพการสีของข้าว พบว่า ข้าวทุกพันธุ์/สายพันธุ์มีคุณภาพการสีดีมาก (ให้ข้าวสารเต็มเมล็ดและต้นข้าวมากกว่า 50  ) ซึ่งอยู่ในช่วง 50.89 - 56.92  สายพันธุ์ SPTLR81460-9-10-1-1 ให้ข้าวสารเต็มเมล็ดและต้นข้าวสูงสุด (56.92) ซึ่งใกล้เคียงกับพันธุ์เปรียบเทียบ กข6 (56.34) ค่าเฉลี่ยของทุกพันธุ์/สายพันธุ์ เมื่อแหลงปลูกต่างกันพบว่า ที่ อ.ลอง ให้ค่าเฉลี่ยวสูงสุด (55.52) และที่ อ.แม่ใจ ให้ค่าเฉลี่ยวต่ำสุด (51.01)  ข้าวชุดไม่ไวต่อช่วงแสงดำเนินการในแปลงเกษตรกรที่ อ.สอง จ.แพร่ อ.แม่อาย อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ และ อ.เมือง จ.ลำปาง โดยใช้พันธุ์ กข10 และสุพรรณบุรี 90 เป็นพันธุืเปรียบเทียบ ผลการวิเคราะห์คุณภาพการสีของข้าวโดยพิจารณาจากเปอร์เซ็นต์ของข้าวสารเต็มเมล็ด และต้นข้าวพบว่า โดยเฉลี่ยวทุกพันธุ์/สายพันธุ์ให้คุณภาพการสีดีมาก (50.56 -56.56) โดยสายพันธุ์ SPTLR75007-145-1-2 ให้เปอร์เซ็นต์สูงสุด (56.56) สูงกว่าพันธุ์เปรียบเทียบ กข10 (55.67) อิทธิพลของแหล่งปลูกต่างกัน พบว่า ที่ อ.สอง จ.แพร่ ให้เปอร์เซ็นต์เฉลี่ยของทุกพันธุ์สูงสุด (56.29) และปลูกที่ อ.เมือง จ.ลำปาง ให้เปอร์เซ็นต์เฉลี่ยวต่ำสุด (51.94)