บทคัดย่องานวิจัย

ศึกษาการบ่มกล้วยหอมทองและกล้วยหอมเขียว

ดารา พวงสุวรรณ ประวัติ ตันบุญเอก สุภา สุขเกษม และ ณรงค์ ทองธรรมชาติ

รายงานการวิจัย กลุ่มงานวิจัยโรคพืชผลิตผลเกษตร กองโรคพืชและจุลชีววิทยา กรมวิชาการเกษตร, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

2534

บทคัดย่อ

ศึกษาการบ่มกล้วยหอมทองและกล้วยหอมเขียว

การบ่มกล้วยหอมทอง และกล้วยหอมเขียวนั้น คุณภาพกล้วยภายหลังการบ่มจะขึ้นอยู่กับคุณภาพของกล้วยตั้งแต่ในแปลงปลูก การเก็บเกี่ยว ขั้นตอนการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวตลอดจนวิธีการบ่มที่ถูกต้อง คือ การบ่มที่ระดับอุณหภูมิและปริมาณก๊าซเอทธิลีนที่เหมาะสมกับกล้วยแต่ละพันธุ์ งานวิจัยครั้งนี้ ได้แบ่งทำการศึกษาออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ การศึกษาที่ 1 เปรียบเทียบวิธีหลังการเก็บเกี่ยวต่าง ๆ ที่มีผลต่อคุณภาพการบ่มของกล้วยหอมทอง การศึกษาที่ 2 เปรียบเทียบการใช้สารโปแตสเซียมเปอร์มังกาเนต (KMno) เพื่อชะลอความสุกของกล้วยหอมทองที่แก่เต็มที่อายุ 100 วันหลังแทงปลี กับกล้วยหอมทองที่ใช้ส่งนอก ซึ่งมีอายุระหว่าง 85-90 วันหลังแทงปลีการศึกษาที่ 3 เปรียบเทียบผลการลดความร้อนในผลกล้วยหอมทองก่อนการเก็บรักษาด้วยระบบ Forced air cooling (เป่าลมเย็น 15 องศาเซลเซียส ผ่านกล่องนาน 2 ชม.) และ Hydro coling (ใช้น้ำเย็นจัดที่ 3 องศาเซลเซียส ไหลผ่านหวีนาน 15 นาที) และการศึกษาที่ 4 ศึกษาการเปรียบเทียบอุณหภูมิโดยใช้ก๊าซเอทลีน บ่มกล้วยหอมเขียว ผลการทดลองทั้ง 4 หัวข้อ