บทคัดย่องานวิจัย

การเปรียบเทียบพันธุ์พริกชี้ฟ้าเพื่อการบริโภคสด

บรินทร์ พูลเพิ่ม เอกนก บางข่า จำรัส เหล็กผา มาโนช ทองเจียม และ ชำนาญ ทองกลัด

รายงานประจำปี 2533 ศูนย์วิจัยพืชสวนพิจิตร สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, พิจิตร. 2534. 225 หน้า

2534

บทคัดย่อ

การเปรียบเทียบพันธุ์พริกชี้ฟ้าเพื่อการบริโภคสด

ผลงานที่ได้ปฏิบัติมาแล้ว ปลูกพริกชี้ฟ้าเพื่อการบริโภคสด โดยการย้าย

กล้าลงแปลงในฤดูแล้ง วันที่ 5 กุมภาพันธุ์ 2533 เริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิต วันที่ 21

มีนาคม 2533 เก็บเกี่ยวผลผลิตครั้งสุดท้าย วันที่ 24 พฤาภาคม 2533 และใน

ฤดูฝน วันที่ 14 มิถุนายน 2533 เริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิต วันที่ 31 กรกฎาคม 2533

เก็บเกี่ยวผลผลิตครั้งสุดท้ายวันที่ 3 ตุลาคม 2533  สรุปผลการทดลอง เมื่อปลูก

ในฤดูแล้ง พันธุ์พริกชี้ฟ้า #60 ให้ผลผลิตสูงสุดเฉลี่ย 3065 กก./ไร่ รองลงมา

ได้แก่ #016  และ  #09  ให้ผลผลิตเฉลี่ย 2465 และ 2395 กก./ไร่ ตามลำดับ

พันธุ์พริกชี้ฟ้า  #011  ให้ผลผลิตต่ำสุดเฉลี่ย 220 กก./ไร่  เมื่อปลูกในฤดูฝน

พันธุ์พริกชี้ฟ้า #08 ให้ผลผลิตสูงสุดเฉลี่ย 1855 กก./ไร่ รองลงมาได้แก่ #07

และ015 ให้ผลผลิคเฉลี่ย 1290 และ 1230 กก./ไร่ ตามลำดับ พันธุ์ที่ให้ผลผลิต

ต่ำสุดคือ #014 เฉลี่ย 295 กก./ไร่ 

          ปัญหาและอุปสรรค แปลงปลูกพริกชี้ฟ้าในช่วงฤดูแล้งมักขาดน้ำ ถ้าพริกได้

รับน้ำอย่างเพียงพอ คาดว่าจะให้ผลผลิตสูงกว่านี้ 

          แนวทางการแก้ไข ควรจัดสรรเครื่องสุบน้ำและอุปกรณ์ให้น้ำในแปลงทดลอง

อย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในช่วงที่แปลงพริกขาดน้ำ เพื่อให้ได้ผล

การทดลองที่ดีกว่านี้ 

          งานที่จะดำเนินการต่อไป จะปลูกพริกชี้ฟ้าเพื่อการบริโภคสด ในฤดูแล้งและฤดู

ฝนปี  2534  นำข้อมูลที่ได้มาเปรียบเทียบกับมาตรฐานการคัดเลือก    เพื่อหาพันธุ์ที่

เหมาะสมเพื่อการบริโภคสดต่อไป