บทคัดย่องานวิจัย

การศึกษาความแปรปรวนทางกายภาพของเมล็ดและคุณภาพการสีของข้าวไม่ไวแสงและข้าวไวแสงโดยใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในระดับต่างๆ กัน (ระยะที่ 1)

สุพัตรา สุวรรณธาดา สอาง ไชยรินทร์ จิตกร นวลแก้ว กรีพล ลิ้มสมวงศ์ บุญโฮม ชำนาญกุล จันทนา สรสิริ จัตุรงค์ พิพัฒน์พิริยานนท์ สมบัติ รุจาคม สถาพร กาญจนพันธุ์ และ สารนิติ สงวนสัจ

รายงานผลการวิจัยประจำปี 2532 ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร

2532

บทคัดย่อ

การศึกษาความแปรปรวนทางกายภาพของเมล็ดและคุณภาพการสีของข้าวไม่ไวแสงและข้าวไวแสงโดยใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในระดับต่าง ๆ กัน

การทดลองเพื่อหาระดับปุ๋ยที่เหมาะสมซึ่งจะทำให้คุณภาพของเมล็ดดีที่สุด ทำการทดลองแบบ split plot disign 3 ซ้ำ อัตราปุ๋ย Main plot, พันธุ์ข้าว เป็น Sub plot สำหรับข้าวไม่ไวแสง อัตราปุ๋ย 5 ตำรับ 0-6-6, 6-6-6, 12-6-6, 18-6-6, 24-6-6 พันธุ์ข้าว 9 สายพันธุ์ และข้าวพันธุ์ดี 1 พันธุ์ ส่วนข้าวไวแสง อัตราปุ๋ย 5 ตำรับ 0-6-6, 4-6-6, 8-6-6, 12-6-6, 15-6-6 พันธุ์ข้าว 6 สายพันธุ์ และข้าวพันธุ์ดี 2 พันธุ์ ทำการทดลอง 3 แห่ง ที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก สถานีทดลองข้าวชัยนาท และสถานีทดลองข้าวโคกสำโรง ข้าวไม่ไวแสง คุณภาพการสีเปอร์เซ็นต์ข้าวเต็มเมล็ด และต้นข้าวที่พิษณุโลกเฉลี่ยอยู่ในระดับ ปานกลาง (31-39) ถึงดี (40-50) สำหรับที่ชัยนาท และโคกสำโรง อยู่ในระดับดีถึงดีมาก (75) ที่พิษณุโลกและชัยนาท ไนโตรเจนและพันธุ์มีผลกับเปอร์เซ็นต์ข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าวที่ระดับความเชื่อมั่น 1 แต่ที่โคกสำโรง ไนโตรเจนและพันธุ์มีผลกับเปอร์เซ็นต์ข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าวที่ระดับความเชื่อมัน 5  ค่าท้องไข่โดยเฉลี่ยน้อยกว่า 1 ทั้ง 3 แห่ง ที่โคกสำโรคค่าท้องไข่เฉลี่ยน้อยที่สุด 0.05 ที่พิษณุโลก และชัยนาท ไนโตรเจนและพันธุ์มีผลต่อค่าท้องไข่ที่ระดับความเชื่อมั่น 1  แต่ที่โคกสำโรง ไนโตรเจนและพันธุ์ไม่มีผลกับระดับท้องไข่  ข้าวไวแสง ทั้ง 3 แห่ง เปอร์เซ็นต์ข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าวอยู่ในระดับดี ถึงดีมาก ที่พิษณุโลกและโคกสำโรงไนโตรเจนและพันธุ์ข้าวไม่มีผลกับเปอร์เซ็นต์ข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าวในทางสถิติ แต่มีผลที่ชัยนาทที่ระดับความเชื่อมั่น 5  ค่าท้องไข่ ทั้ง 3 แห่ง น้อยกว่า 1 ไนโตรเจนและพันธุ์ไม่มีผลกับค่าท้องไข่