บทคัดย่องานวิจัย

การศึกษาวิธีการยืดอายุการเก็บรักษาเห็ดฟางสด (ระยะที่ 2)

วัลลภา ธีระภาวะ และ สุภา สุขเกษม

รายงานการวิจัย กลุ่มงานวิจัยโรคพืชผลิตผลเกษตร กองโรคพืชและจุลชีววิทยา กรมวิชาการเกษตร, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

2532

บทคัดย่อ

การศึกษาวิธีการยืดอายุการเก็บรักษาเห็ดฟางสด

สรุปผลการทดลอง จากการทดลองเก็บรักษาเห็ดฟางระยะต่าง ๆ 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เห็ดตูมรูปกลม ระยะที่ 2 เห็ดตูมรูปกลมรี  ระยะที่ 3  เห็ดยืดตัว  และระยะที่ 4  เห็ดริ่มแย้ม แตกออก แต่ยังไม่เห็นก้าน โดยเปรียบเทียบการบรรจุเห็ดฟางในถาดโฟมหุ้มด้วยพลาสติก PY1, PY7 และฟิล์มพลาสติก PVC และเก็บรักษาไว้ในอุณหภูมิ 13-14ํซ ความชื้นสัมพัทธ์ 96-100 เมื่อ 4 ชั่วโมงหลังเก็บรักษาพบว่า เห็ดยังมีสภาพทั่วไปสด มีการเปลี่ยนแปลงระยะบ้างเล็กน้อย และเมื่อ 21 ชั่วโมงหลังเก็บรักษา พบว่าเห็ดในถาดโฟมที่หุ้มด้วยฟิล์ม PVC จะมีผิวเหี่ยว ฉ่ำน้ำ และยุบลง ไม่อยู่ในสภาพที่ซื้อขายได้ ส่วนเห็ดที่บรรจุในถาดโฟมหุ้มด้วยพลาสติก PY1 และ PY7 สภาพทั่วไปยังดี ดอกยังสดและแข็ง ผิวดอกอมน้ำเล็กน้อย เห็ดมีการเปลี่ยนแปลงคือ เปลี่ยนจากระยะที่ 1 เป็นระยะที่ 2  50 ระยะที่ 2 เป็นระยะที่ 3 และ 4 ประมาณ 60-70 ระยะที่ 3  เปลี่ยนเป็นระยะที่ 4 ประมาณ 40-50 เมื่อเก็บไว้ถึง 4 วัน เห็ดจะมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นบ้าง โดยทั่วไปเห็ดในกรรมวิธีที่ใช้ PY1 จะสดและมีสภาพทั่วไปดีกว่า PY7 เล็กน้อย พบอาการ chilling injury ในดอกเห็ดระยะที่ 1 มากกว่าระยะที่ 2 และ 3 สำหรับเห็ดฟางที่เก็บรักษาไว้ในห้องปรับอากาศอุณหภูมิ 19-20ํซ  ในระยะเวลาที่เท่ากันพบว่าเห็ดในถาดโฟมที่หุ้มฟิล์ม PVC จะเริ่มซ้ำ ดอกนิ่มลงและฉ่ำน้ำ เห็ดในถาดโฟมที่หุ้มพลาสติก PY1 และ PY7 จะยังสดแข็ง แต่เห็ดจะเปลี่ยนระยะจากระยะที่ 1 และ 2 ไปเป็นระยะที่ 4 และ 5 คือดอกเห็ดจะเริ่มแตกออก และบางส่วนจะเห็นก้านดอก มีเส้นใยของดอกเห็ดขึ้นบริเวณฐานดอก เนื่องจากความชื้นสูง  งานที่จะดำเนินการต่อไป  จะทำการทดลองซ้ำเพื่อเปรียบเทียบวิธีการบรรจุ และกรรมวิธีปฏิบัติหลังเก็บเกี่ยว เพื่อยืดอายุการเก็บรักษา