บทคัดย่องานวิจัย

การใช้สารเคลือบผิวในการยืดอายุการเก็บรักษาสับปะรดพันธุ์ปัตตาเวีย

เบญจมาส รัตนชินกร สณทรรศน์ นันทะไชย นภดล นภาพรอมรจิตติ และ จงวัฒนา พุ่มหิรัญ

รายงานประจำปี 2531 ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, จันทบุรี. 147 หน้า.

2532

บทคัดย่อ

การใช้สารเคลือบผิวในการยืดอายุการเก็บรักษาสับปะรดพันธุ์ปัตตาเวีย

สับปะรดพันธุ์ปัตตาเวียเก็บเกี่ยวเมื่อมีความสุกของเนื้อประมาณ 30 คัดผล

ขนาดประมาณ 2 กิโลกรัม นำมาตัดแต่งก้านผลให้เหลือ 1 นิ้ว แล้วทำความสะอาดโดยล้าง

ด้วยน้ำ ผึ่งแห้งแล้วจึงทำตามกรรมวิธี คือ ไม่เคลือบผิว และเคลือบผิวด้วย Semper fresh

ความเข้มข้น 2 ระดับ คือ 1.25 และ 1.5  ในสารเคลือบผิวจะผสมยากันราไธอะเบนดาโซล

ความเข้มข้น 500 ppm โดยจะเคลือบผิวเฉพาะส่วนผลและก้านสับปะรดแล้วผึ่งให้แห้ง

ก่อนบรรจุลงกล่องกระดาษลูกฟูก ขนาด 5 ผล/กล่อง สับปะรดทั้งหมดจะขนจากไร่มาเก็บ

ที่ห้องเย็นของอาคารพืชสวนหลังการเก็บเกี่ยว บางเขน โดยจัดแบ่งเป็น 2 ชุด คือ ชุดหนึ่ง

เก็บที่ 10 Cํ อีกชุดหนึ่งเก็บที่ 13 Cํ จากนั้นสุ่มมาเก็บที่อุณหภูมิห้องอีก 7 วัน เพื่อดูการ

เปลี่ยนแปลงคุณภาพใน จากการทดลองพบว่า การใช้สารเคลือบผิว Semper fresh

ความเข้มข้น 1.25-1.5  ผลายากันรา 500 ppm จะช่วยให้สามารถเก็บสับปะรดใน

อุณหภูมิ 10 Cํ ได้ประมาณ 2 สัปดาห์โดยมีคุณภาพในการวางจำหน่ายที่ดีอีก 1 สัปดาห์

การเก็บสับปะรดที่ 10 Cํ นานเกิน 2 สัปดาห์จะทำให้สับปะรดเกิด IBS (Internal

Brown Spot) ที่เนื้อ อาการรุนแรงและรับประทานไม่ได้สำหรับสับปะรดที่ไม่เคลือบ

ผิวจะสามารถเก็บที่10 Cํ ได้เพียงสัปดาห์เดียว และมีอายุการวางจำหน่ายอีก 1 สัปดาห์

ส่วนการสูญเสียน้ำหนักของสับปะรดนั้นพบว่าสารเคลือบผิวช่วยลดการสูญเสียลงได้ 1-2

ในช่วง 2 สัปดาห์แรกเท่านั้น สับปะรดที่เก็บที่ 13 Cํ นั้นพบว่าทุกกรรมวิธีเกิด Chilling injury

ภายหลังการเก็บรักษาในห้องเย็นได้เพียง 1 สัปดาห์ และพบอาการIBS ร่วมด้วย เมื่อเก็บ

ในห้องเย็นนานเกิน 2 สัปดาห์ ดังนั้นแสดงว่าสารเคลือบผิวไม่สามารถช่วยให้สับปะรดเก็บ

ในอุณหภูมิสูงขึ้นได้