บทคัดย่องานวิจัย

การศึกษาคุณภาพและการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ฝ้ายจากสมอต้น, สมอกลาง, และสมอปลาย ในฝ้ายพันธุ์นครสวรรค์ 1

สุวรรณ ทิพย์เมืองพรหม วีระเดช เปียจำปา ณรงค์ บุญมีรอด ชุติมา คชวัฒน์ อำนวย ทองดี บรรจง ขันธวิชัย อาคม สุ่มมาตย์ และ เสริมศักดิ์ สุวรรณราช

รายงานผลการวิจัย ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

2531

บทคัดย่อ

การศึกษาคุณภาพและการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ฝ้ายจากสมอต้น, สมอกลาง, และสมอปลาย ในฝ้ายพันธุ์นครสวรรค์ 1

จากการทดสอบคุณภาพในปีแรก ได้ใช้ฝ้ายสมอคละทำการศึกษาคุณภาพระหว่างการเก็บรักษา

โดยสุ่มเมล็ดมาทดสอบคุณภาพทุก 2 เดือน เป็นเวลา 11 เดือน โดยเริ่มทดลองเมื่อมกราคม 2531

เสร็จสิ้นการทดลองในปีแรกเมื่อธันวาคม 2531 พบว่า ความงอกของเมล็ดที่ทดสอบวิธีต่าง ๆ

ได้แก่ ทดสอบความงอกมาตรฐาน ความงอกในแปลงเมื่ออายุ 12 วัน การทดสอบความแข็งแรง

โดยวิธี วัดความยาวต้นอ่อนที่ 5 วัน การเร่งอายุ และดัชนีการงอก เพิ่มสูงขึ้นจากเดือนที่ 1 และสูง

สุดในเดือนที่ 5 ในทุกวิธีการ แล้วคุณภาพเมล็ดพันธุ์จะลดลงในเดือนที่ 7 โดยเฉพาะความ

แข็งแรงที่ทดสอบโดยวิธีการเร่งอายุจะทำให้ความงอกของเมล็ดลดลงอย่างรวดเร็ว ผลการเก็บ

รักษาในช่วงปีแรกทำให้เห็นว่า คุณภาพเมล็ดพันธุ์ฝ้ายที่เก็บมาในช่วงแรกนั้นยังต่ำ แต่คุณภาพจะ

ค่อย ๆ เพิ่มสูงขึ้นหลังการเก็บรักษาช่วงหนึ่งแล้วจึงลดลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในด้านความ

แข็งแรง การทดลองนี้จะทำซ้ำและแยกเป็นฝ้ายสมอต้น กลาง และปลาย ในปี 2532