บทคัดย่องานวิจัย

การศึกษาอายุการเก็บเกี่ยวของผลผลิตของยอดอ่อนมะพร้าวจากหน่อมะพร้าว

มลิวัลย์ รัตนพฤกษ์ ปิยนุช นาคะ อานุภาพ ธีระกุล และ จิตสำเริง พยัคฆ์พงศ์

รายงานผลงานวิจัย ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, ชุมพร.

2531

บทคัดย่อ

การศึกษาอายุการเก็บเกี่ยวของผลผลิตของยอดอ่อนมะพร้าวจากหน่อมะพร้าว

เพื่อศึกษาผลผลิตและคุณภาพของยอดอ่อนมะพร้าวที่ได้จากอายุการเก็บเกี่ยว

หน่อมะพร้าวพันธุ์ต่าง ๆ เพื่อหาพันธุ์และอายุการเก็บเกี่ยวที่ดีที่สุดของหน่อมะพร้าวที่มีผล

ต่อคุณภาพและผลผลิตของยอดมะพร้าว โดยเริ่มทำการทดลองตั้งแต่ ตุลาคม 2530 จนถึง

กันยายน2532 ดำเนินการเตรียมแปลง ณ ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร ให้มีขนาด 4.5x54 เมตร

สำหรับเพาะมะพร้าว 3 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ไทยต้นสูง สวีลูกผสม 1 และมลายูสีเหลืองต้นเตี้ย

มีระยะปลูก 30x30 ซม. จะเก็บเกี่ยวหน่อมะพร้าว ทุก 6,9,12,15,18,21,24,27 และ

30 เดือน ตามลำดับ เพื่อศึกษาคุณภาพและผลผลิตของยอดมะพร้าวที่ได้ วางแผนการทดลอง

แบบsplit plot มีชนิดของพันธุ์เป็น main plot และอายุการเก็บเกี่ยวเป็น sub plot ทำการ

ทดลอง 4 ซ้ำ ลักษณะที่ศึกษาทุก ๆ ครั้ง ที่มีการเก็บเกี่ยวยอดอ่อน ได้แก่ เปอร์เซ็นต์ความหวาน

(Brix),ความชื้น,ประมาตร (ลบ.ซม.) และน้ำหนักของยอดอ่อนมะพร้าวผลการทดลอง พบว่า

ขณะนี้ได้เก็บเกี่ยวยอดอ่อนมะพร้าว ทั้ง 3 พันธุ์ คือ พันธุ์ไทยต้นสูง สวีลูกผสม 1 มลายูสีเหลือง

ต้นเตี้ย ไปแล้วเมื่ออายุ 6,9,12,15,18 เดือน พบว่าพันธุ์ไทยต้นสูงและพันธุ์สวีลูกผสม 1 เป็น

พันธุ์ที่เหมาะสมในการผลิตยอดอ่อนมากกว่าพันธุ์มลายูสีเหลืองต้นเตี้ย หากคำนึงถึงขนาดของ

ยอดอ่อนมากกว่าพันธุ์มลายูสีเหลืองต้นเตี้ย ตั้งแต่อายุ 6 เดือน จนถึงอายุ 18 เดือน ซึ่งพันธุ์ไทย

ต้นสูงและพันธุ์สวีลูกผสม 1ให้ยอดอ่อนเมื่ออายุ 18 เดือน มีประมาณมากกว่าพันธุ์มลายูสีเหลือง

ต้นเตี้ย ถึง 4 เท่า และทำนองเดียวกันปริมาณน้ำหนักของยอดอ่อนของพันธุ์ไทยต้นสูงและ

พันธุ์สวีลูกผสม 1 มีน้ำหนักมากกว่าพันธุ์มลายูสีเหลืองต้นเตี้ยถึง 4 เท่า เหตุผลอีกประการหนึ่ง

ที่พันธุ์มาลายูสีเหลืองต้นเตี้ยไม่เหมาะที่จะใช้ผลิตยอดมะพร้าวอ่อนก็คือ เป็นโรคใบจุดรุนแรง

เนื่องจากการปลูกใกล้ชิดกันมากเกินไป (ระยะปลูก 30x30 ซม.) ส่วนพันธุ์ไทยสูงและพันธุ์สวีลูก

ผสม 1 เป็นพันธุ์ที่ต้านทานโรคในจุด ความรุนแรงของโรค