บทคัดย่องานวิจัย

ศึกษาอายุการเก็บเกี่ยวมะม่วงแก้วเพื่อการดอง

ภคินี อัครเวสสะพงศ์ พูนศักดิ์ ดิษฐ์กระจัน ปัญจรัศมิ์ นันทพล ศศิธร วสุนันต์ กัลยาณี ตันติธรรม และ สุนันทา เวสอุรัย

รายงานผลงานวิจัยประจำปี 2531 ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, ศรีสะเกษ. หน้า 159-170. 323 หน้า.

2532

บทคัดย่อ

ศึกษาอายุการเก็บเกี่ยวมะม่วงแก้วเพื่อการดอง

การศึกษาอายุเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมของมะม่วงแก้วสายพันธุ์ ศก.007 และ ศก.002

เพื่อทำมะม่วงดอง ได้ทำการทดลองในปี 2530-2531 ตามลำดับ ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ

โดยใช้มะม่วงแก้ว ศก.007 ที่อายุเก็บเกี่ยว 11,12,13 และ 14 สัปดาห์และมะม่วงแก้ว ศก.002

ที่อายุเก็บเกี่ยว 11,12,13,14,15,16 และ 17 สัปดาห์ ภายหลังดอกบาน โดยดองในน้ำเกลือที่

ความเข้มข้นร้อยละ 10 ซึ่งมีโซเดียมเบนโซเอทร้อยละ 0.1 ทำการวิเคราะห์คุณภาพของมะม่วง

ทั้งทางกายภาพและเคมีก่อนและหลังการดองและทดสอบคุณภาพทางประสาทสัมผัส ส่วน

มะม่วงดอง ศก.002 จะทำการทดสอบคุณภาพทุกระยะ 3,5 และ 7 เดือนภายหลังจากการทดลอง

ผลปรากฎว่า มะม่วงแก้วดอง ศก.007 อายุเก็บเกี่ยว 11 สัปดาห์ ภายหลังจากการดอง  1 เดือน

ไม่เป็นที่ยอมรับของผู้ชิม และมีคุณภาพต่ำกว่ามะม่วงดองที่ใช้มะม่วงอายุเก็บเกี่ยว 12,13 และ

14 สัปดาห์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.03) โดยที่มะม่วงอายุตั้งแต่ 12 สัปดาห์ขึ้นไปไม่มี

ความแตกต่างกันทางสถิติ ส่วนมะม่วงดอง ศก.002 มะม่วงที่อายุเก็บเกี่ยว 11 สัปดาห์ มีคุณภาพ

ต่ำที่สุด รองลงมาคือ 12 สัปดาห์ มะม่วงดองทั้งสองสัปดาห์มีคุณภาพต่ำกว่ามะม่วงอายุตั้งแต่

13 สัปดาห์ขึ้นไป อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.01) และมีคุณภาพไม่เป็นที่ยอมรับ มะม่วง

อายุ 11 สัปดาห์ทั้งสองสายพันธุ์ เมื่อดองจะนิ่มและเน่าเสียหายมากที่สุด ตลอดจนมีสีและกลิ่น

ผิดปกติ สำหรับมะม่วงดอง ศก.002 อายุ 17 สัปดาห์ มีแนวโน้มว่าจะดีที่สุด โดยมะม่วงจะกรอบ

รสชาติดี และเป็นที่ยอมรับสูงที่สุด อย่างไรก็ตามมะม่วงตั้งแต่อายุ 13 สัปดาห์ถึง 17 สัปดาห์

ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติและอายุการดองมะม่วงไม่มีผลต่อคุณภาพการยอมรับของผู้ชิม