บทคัดย่องานวิจัย

การลดอุณหภูมิด้วยน้ำและโดยการบังคับอากาศเย็นของกะหล่ำปลีและส้ม

สุกัญญา ทองโยธี

วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 50 (3 พิเศษ): 248-251. 2562.

2562

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิธีลดอุณหภูมิผักและผลไม้โดยวิธี hydrocooling (HC) และ forced-air cooling (FC) 2) ประเมินเครื่องลดอุณหภูมิผักและผลไม้โดยวิธี HC และ FC 3) ศึกษาการลดอุณหภูมิและคุณสมบัติทางกายภาพของผักและผลไม้หลังลดอุณหภูมิด้วยวิธีการลดอุณหภูมิผักและผลไม้เป็นเวลา 12 ชั่วโมง ศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพสี ความแน่นเนื้อ โดยดูการเปลี่ยนแปลงของผักและผลไม้ที่ผ่านการลดอุณหภูมิขณะเก็บรักษาในห้องเย็น 240 ชั่วโมง วัสดุเกษตรที่ใช้คือกะหล่ำปลีและส้ม ผลการประเมินเปิดเครื่องเป็นเวลา 255 นาที ลดอุณหภูมิได้ 5.0 ºC อุณหภูมิน้ำภายในถังทำน้ำเย็นลดลงเหลือ 1 ºC อัตราการไหลของน้ำเย็น 25.2 ลิตร/นาที และมีอุณหภูมิที่ 1 ºC ความเร็วลมเย็น 3.5 m/s อุณหภูมิที่ 2.5º C และปริมาณลมที่ถูกดูด 0.105 m3/s การกระจายตัวของน้ำที่ระดับความสูง 1 m เท่ากับกว้าง 2x2.4 เมตร ไฟฟ้าที่ใช้ 0.4 kWh สมรรถนะของเครื่องทำความเย็น (COPRef) 2.01 ความร้อนที่ถูกปล่อยทิ้งไปยังภายนอกห้อง 180.06 kJ/min ผลการลดอุณหภูมิโดยวิธี HC พบว่ากะหล่ำปลีลดลงเหลือ 8.21 ºC มีความแน่นเนื้อ 0.99 kgf และส้มลดลงเหลือ 8.16 ºC มีความแน่นเนื้อ 0.86 kgf กะหล่ำปลีที่ลดอุณหภูมิโดยวิธี FC ลดลงเหลือ 11.06 ºC มีความแน่นเนื้อ 0.95 kgf และส้มลดลงเหลือ 9.95 ºC มีความแน่นเนื้อ 0.85 kgf สีของกะหล่ำปลีที่ผ่านการลดอุณหภูมิโดยวิธี HC เริ่มต้นจากสีเขียวอ่อนเปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้ม (L= 64.4, a= -10.8, b= 35.7) และส้มเริ่มต้นจากสีเหลืองเข้มเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อน (L= 47.8, a= -2.3, b= 43.2) สีของกะหล่ำปลีที่ผ่านการลดอุณหภูมิโดยวิธี FC เริ่มต้นจากสีเขียวอ่อนเปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้ม (L= 64.8, a= -24.6, b= 36.0) และส้มเริ่มต้นจากสีเหลืองเข้มเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อน (L= 50.1, a= -2.3, b= 47.0)