บทคัดย่องานวิจัย

ศักยภาพของอาหารเลี้ยงเชื้อราเพื่อตรวจสอบเชื้อราปนเปื้อนในเมล็ดข้าวโพด

สรรเสริญ รังสุวรรณ พิสุทธิ์ เขียวมณี ชัยณรงค์ รัตนกรีฑากุล และ รัติยา พงศ์พิสุทธา

วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 49(4) (พิเศษ): 159-162.

2561

บทคัดย่อ

ในระหว่างการเก็บรักษาเมล็ดข้าวโพดในโรงเก็บเชื้อราที่ปนเปื้อนสามารถสร้างสารพิษหลายชนิดและมีผลกระทบต่อวัตถุดิบซึ่งอาจมีผลต่อผู้บริโภคได้ การตรวจสอบเชื้อราที่ปนเปื้อนจึงเป็นวิธีการเบื้องต้นในการควบคุมคุณภาพของเมล็ด ข้าวโพดการศึกษาครั้งนี้ได้เปรียบเทียบอาหารเลี้ยงเชื้อรา 4 ชนิด ได้แก่ potato dextrose agar (PDA) malachite green agar (MG) malt salt agar (MSA) และ Aspergillus flavus and parasiticus agar (AFPA) ในการตรวจการปนเปื้อนของเชื้อราโดยวิธี agar blotter กับเมล็ดข้าวโพดไร่ จำนวน 16 แหล่ง เชื้อราที่พบประกอบด้วย Aspergillus flavus, A. tamarii, A. niger, Penicillium sp., Fusarium sp. และ Rhizopus sp. โดยพบว่า เชื้อรา Aspergillus spp. สามารถตรวจพบได้ชัดเจน หลังบ่มนาน 5 วัน บนอาหาร AFPA และ PDA ในขณะที่บนอาหาร MG จะพบเชื้อรา Fusarium spp. อย่างไรก็ตาม สามารถแยกความแตกต่างของเชื้อรา Aspergillus spp. หลังการบ่มนาน 8 วัน นอกจากนี้ยังพบว่า อาหาร AFAP มีศักยภาพดีที่สุดในการใช้จำแนกเชื้อรา Aspergillus spp. เมื่อเปรียบเทียบกับอาหารเลี้ยงเชื้อชนิดอื่น