บทคัดย่องานวิจัย

ผลของช่วงเวลาการเก็บเกี่ยวและอัตราปุ๋ยฟอสฟอรัสต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ควินัว 2 พันธุ์

พีรพล แก้วสุวรรณ ปิติพงษ์ โตบันลือภพ นพ ตัณมุขยกุล พัชรียา บุญกอแก้ว ปิ่นปินัทธ์ จันทร์แหง ปริญญา การสมเจตน์ ภาสกร ฟุ้งฟู ณรงค์ชัย พิพัฒน์ธนวงศ์ และ Iván Matus T.

วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 45 (3/1 พิเศษ): 453-456. 2557.

2557

บทคัดย่อ

ผลของช่วงเวลาการเก็บเกี่ยวและอัตราปุ๋ยฟอสฟอรัสต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ควินัว 2 พันธุ์

ปัจจุบันประชากรหันมาให้ความสำคัญกับการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพเพิ่มมากขึ้น “ควินัว” เป็นธัญพืชทางเลือกชนิดหนึ่งที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง แต่ยังไม่พบการผลิตเมล็ดพันธุ์ควินัวในประเทศไทย ซึ่งปัจจัยการผลิตที่สำคัญคือการจัดการธาตุอาหรและช่วงเวลาการเก็บเกี่ยว ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อศึกษาช่วงเวลาการเก็บเกี่ยว และอัตราปุ๋ยฟอสฟอรัสต่อผลผลิตและคุณภาพเมล็ดพันธุ์ควินัว วางแผนการทดลองแบบ Split-split plot in RCBD โดย main plot คือควินัว 2 พันธุ์ (Moradas และ Verdes) sub plot คือการใช้อัตราปุ๋ยฟอสฟอรัส 4 ระดับ (0,37.5, 75 และ 125 kg.P.ha-1) และ sub-sub plot คือช่วงเวลาการเก็บเกี่ยว 60 วัน และ 90 วันหลังปลูก (Day After Planting; DAP) ผลการทดลองพบว่าเปอร์เซ็นต์ความงอก (Germination)ค่าดัชนีความงอก (Germination Index; GI) น้ำหนัก 1,000 เมล็ด และค่าเวลาการงอกเฉลี่ย (Mean Emergence Time; MET)ของเมล็ดพันธุ์ควินัวทั้ง 2 พันธุ์ ที่เก็บเกี่ยว 60 และ 90 DAPมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมล็ดที่เก็บเกี่ยวช่วง 90 DAP มีความงอก (82%),GI (6.78) และน้ำหนัก 1,000 เมล็ด (2.95 g) สูงกว่า (P≤0.05)และ MET(3.27 day) ต่ำกว่า (P≤0.05)ที่ 60 DAPสำหรับอัตราปุ๋ยฟอสฟอรัสทั้ง 4 ระดับไม่ส่งผลต่อค่าเปอร์เซ็นต์ความงอก GI  MET และน้ำหนัก 1,000 เมล็ด ของเมล็ดพันธุ์ควินัวทั้ง 2 พันธุ์ จึงสรุปได้ว่าเวลาในการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม เพื่อให้ได้ผลผลิตและคุณภาพเมล็ดพันธุ์ควินัวทั้ง 2 พันธุ์ คือ 90 DAP