บทคัดย่องานวิจัย

การศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพของกระเทียมสำหรับการออกแบบเครื่องปอกเปลือก

ธีรวัฒน์ พีบขุนทด จักรมาส เลาหวณิช และ สุพรรณ ยั่งยืน

วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 45 (3/1 พิเศษ): 377-380. 2557.

2557

บทคัดย่อ

การศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพของกระเทียมสำหรับการออกแบบเครื่องปอกเปลือก

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพของกระเทียมจีน สำหรับการออกแบบและสร้างเครื่องปอกเปลือกกระเทียมโดยใช้หลักการของความเสียดทานร่วมกับการไหลแบบหมุนวนของลมอัด ซึ่งมีตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ ประกอบด้วย น้ำหนัก ขนาด ความหนาของเปลือก ความหนาแน่นปรากฏ มุมเสียดทานบนพื้นผิว มุมกอง ความเร็วปลาย และแรงกด 46และ 8มิลลิเมตร ร่วมกับวิธีการเตรียมตัวอย่างก่อนการทดสอบ 2วิธีการ ได้แก่ ทำการเปรียบเทียบวิธีการเตรียมตัวอย่างโดยการอบแห้งด้วยลมร้อนที่อุณหภูมิ 60องศาเซลเซียส  กับการแช่น้ำก่อนทำการปอกเปลือก ผลการทดลองพบว่าคุณสมบัติทางกายภาพของกระเทียมที่ความชื้น 68.46เปอร์เซ็นต์มาตรฐานเปียก มีน้ำหนัก 5.44±1.15กรัมต่อกลีบ กว้าง 17.50±3.08มิลลิเมตร ยาว 33.50±2.95มิลลิเมตร สูง 20.84±1.70มิลลิเมตร ความหนาของเปลือกกระเทียม 0.092±0.094มิลลิเมตร ความหนาแน่นปรากฏ 538.56±5.22กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร สัมประสิทธิ์ความเสียดทานสถิตย์บนพื้นผิวอะคริลิค เหล็ก และสแตนเลส เฉลี่ย 0.30±0.030.34±0.02และ 0.29±0.02ตามลำดับ ความเร็วปลาย 910.31±94.08 เมตร/นาที มุมกอง 31.80±1.63องศา ที่ระยะการกด 4มิลลิเมตร ด้วยแรง 127.11±21.77นิวตันของด้านกว้าง และ 100.00±17.74นิวตันของด้านสูง ทำให้กลีบกระเทียมเกิดการแตกและช้ำน้อยที่สุด สำหรับการเตรียมตัวอย่างและจำลองการปอกด้วยถุงมือยาง พบว่าการอบด้วยลมร้อนที่อุณหภูมิ 60องศาเซลเซียส 60นาที ทำให้สามารถปอกเปลือกกระเทียม ได้เร็วกว่าวิธีการแช่น้ำ โดยมีค่าเฉลี่ยเฉลี่ย 7.44 วินาทีต่อกลีบ