บทคัดย่องานวิจัย

การทำบริสุทธิ์บางส่วนและลักษณะของเอนไซม์ chlorophyllase และ pheophytinase ในเปลือกผลมะนาว

นพรัตน์ ทัดมาลา วาริช ศรีละออง สมัคร แก้วสุกแสง ณัฐชัย พงษ์ประเสริฐ และเฉลิมชัย วงษ์อารี

วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 45 (3/1 พิเศษ): 109-112. 2557.

2557

บทคัดย่อ

การทำบริสุทธิ์บางส่วนและลักษณะของเอนไซม์ chlorophyllase และ pheophytinase ในเปลือกผลมะนาว

การเปลี่ยนแปลงคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผลมะนาวคือการเหลืองของเปลือก โดยสาเหตุเกิดจากการสลายตัวของคลอโรฟิลล์อันเนื่องมาจากการทำงานของกิจกรรมเอนไซม์ chlorophyllase และ pheophytinaseทำให้มะนาวไม่เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคและมีอายุการวางจำหน่ายที่สั้น การศึกษานี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติทางเคมีของเอนไซม์ทั้งสองชนิดนี้ โดยการทำบริสุทธิ์บางส่วนของเอนไซม์ chlorophyllase และ pheophytinase จากเปลือกผลมะนาว 2 สายพันธุ์  คือพันธุ์แป้นและพันธุ์ตาฮิติ ด้วย ammonium sulfate ((NH4)2SO4) ที่ความเข้มข้น 0-100 เปอร์เซ็นต์ พบว่ามะนาวพันธุ์แป้นและมะนาวพันธุ์ตาฮิติมีกิจกรรมเอนไซม์ chlorophyllase สูงสุดในช่วงระดับความเข้มข้นของ ammonium sulfate  ที่ 10-20 เปอร์เซ็นต์ และมีกิจกรรมเอนไซม์ pheophytinase สูงสุดในช่วงระดับความเข้มข้นของ ammonium sulfate  ที่ 40-50 เปอร์เซ็นต์ ส่วนของ pH ที่เหมาะสมต่อการเกิดปฏิกิริยาของเอนไซม์ chlorophyllase เท่ากับ 7.0 ในขณะที่กิจกรรมของเอนไซม์ pheophytinase เท่ากับ 8.0 และอุณหภูมิที่เหมาะสมในการบ่มต่อการเกิดปฏิกิริยาของเอนไซม์ chlorophyllase และ  pheophytinase คือ 30 และ 40 องศาเซลเซียส ตามลำดับ บ่งชี้ได้ว่าเอนไซม์ chlorophyllase และ pheophytinaseมีคุณสมบัติทางเคมีที่ต่างกันถึงแม้ว่าจะมีการใช้สารตั้งต้นในการทำปฏิกิริยาเอนไซม์ชนิดเดียวกัน