บทคัดย่องานวิจัย

ประสิทธิภาพการใช้น้ำมันหอมระเหยในการควบคุมปริมาณจุลินทรีย์ที่ได้จากสารละลายปักแจกันของกุหลาบตัดดอก

กาญจนา วรราษฎร์กฤษณ์ สงวนพวก ผ่องเพ็ญ จิตรอารีย์รัตน์เฉลิมชัย วงษ์อารีและ มัณฑนา บัวหนอง

วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 43 (3พิเศษ):523-527. 2555.

2555

บทคัดย่อ

ประสิทธิภาพการใช้น้ำมันหอมระเหยในการควบคุมปริมาณจุลินทรีย์ที่ได้จากสารละลายปักแจกันของกุหลาบตัดดอก

ศึกษาการควบคุมปริมาณจุลินทรีย์ที่ได้จากสารละลายปักแจกันของดอกกุหลาบพันธุ์ “Grand Gala” โดยใช้น้ำมันหอมระเหยจากพืชสมุนไพร 9 ชนิด คือ มะกรูดฝรั่ง(Bergamot), ตะไคร้หอม(Citronella), อบเชยเทศ(Cinnamon), มะกรูดไทย(Kaffir lime), มะนาว(Lime), ตะไคร้บ้าน(Lemongrass), สาระแหน่(Peppermint), โหระพา(Sweet basil)และ Tea tree  ที่ความเข้มข้น 1,000,000 ppm (100%) มาทดสอบด้วยวิธี Disc Diffusion Methodพบว่าชนิดของน้ำมันหอมระเหยมีผลต่อการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ในน้ำปักแจกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง (p≤0.01)โดยน้ำมันหอมระเหยที่สกัดได้จาก Tea tree สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อได้ดีที่สุดและมี inhibition zoneเท่ากับ 13.75mmรองลงมาคือ น้ำมันหอมระเหยที่สกัดได้จากอบเชยเทศมี Inhibition zoneเท่ากับ 13.29 mm เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำกลั่น + Tween 80 (ชุดควบคุม)