บทคัดย่องานวิจัย

แบบจำลองทางคณิตศาสตร์สำหรับการทำนายการเปลี่ยนแปลงความชื้นของกากมะพร้าว

จินตนาพรปันพรมจุฑามาศบุญเลาโชติพงศ์กาญจนประโชติและฤทธิชัยอัศวราชันย์

วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 43 (3พิเศษ):224-227. 2555.

2555

บทคัดย่อ

แบบจำลองทางคณิตศาสตร์สำหรับการทำนายการเปลี่ยนแปลงความชื้นของกากมะพร้าว

งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อหาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่เหมาะในการศึกษาอิทธิพลของอุณหภูมิในการอบแห้ง(40, 60  และ 80oC) ที่ชั้นความหนาของกากมะพร้าว (2 mm) ในระหว่างการอบแห้งด้วยลมร้อน ของกากมะพร้าวสดซึ่งเป็นเศษวัสดุที่เหลือทิ้งจากการสกัดน้ำกะทิ และมีความชื้นเริ่มต้นประมาณ 1.61±1.71 g water/g dry matter อบแห้งจนเหลือความชื้น 0.11±0.09 g water/g dry matter พบว่าเวลาที่ใช้ในการอบแห้งอยู่ในช่วง150 ถึง 480 min โดยศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการเปลี่ยนแปลงความชื้นของกากมะพร้าวสดในระหว่างการอบแห้งที่เวลาต่างๆ ด้วยวิธีการพัฒนาแบบจำลองเอมพิริคัล ทั้ง 5รูปแบบ ได้แก่ Lewis, Henderson and Pabis, Page, Logarithmic  และ Midilliโดยวิเคราะห์ความแม่นยำของของแบบจำลองด้วยพารามิเตอร์ทางสถิตด้วยค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ(R2) ค่าการลดลงไคกำลังสอง (Chi-Square, c2)และค่ารากที่สองของความคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ย (Root Mean Square Error, RMSE)จากผลการทดลองพบว่าแบบจำลองเอมพิริคัลของ Midilliมีความเหมาะที่สุดในการทำนายอัตราการเปลี่ยนแปลงความชื้นโดยมีค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจมากที่สุด และค่าการลดลงไคกำลังสองกับค่ารากที่สองของความคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ยน้อยกว่าแบบจำลองเอมพิริคัลอื่นๆ