บทคัดย่องานวิจัย

การทดสอบ และประเมินผลเครื่องขุดหัวแก่นตะวันในพื้นที่ที่มีรูปแบบการปลูกแตกต่างกัน

พีรณัฐ อันสุรีย์สมโภชน์ สุดาจันทร์และสนั่น จอกลอย

วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 43 (3พิเศษ):27-30. 2555

2555

บทคัดย่อ

การทดสอบ และประเมินผลเครื่องขุดหัวแก่นตะวันในพื้นที่ที่มีรูปแบบการปลูกแตกต่างกัน

  โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบ และประเมินผลเครื่องขุดหัวแก่นตะวัน 2 แบบ คือ แบบโครงยึดผาลขุดตรงกลาง(แบบ ก.) และแบบโครงยึดผาลขุดด้านข้าง(แบบ ข.) โดยใช้รถไถเดินตามเป็นต้นกำลัง การทดสอบกระทำในพื้นที่ปลูกที่มีรูปแบบการปลูกต่างกัน 3 รูปแบบ คือ แบบยกร่องแถวปลูกเดี่ยว แบบยกร่องแถวปลูกคู่ และไม่ยกร่องแถวปลูกเดี่ยว เครื่องขุดที่ใช้ในการทดสอบ และประเมินผลเป็นเครื่องขุดที่ได้รับการพัฒนาจากเครื่องขุดต้นแบบ ซึ่งมีกลไกไม่ซับซ้อน และบำรุงรักษาง่าย ทดสอบเปรียบเทียบกับการขุดโดยใช้จอบของเกษตรกร ผลการทดสอบพบว่าการขุดโดยใช้จอบในพื้นที่การปลูกแบบยกร่องแถวเดี่ยวมีความสามารถในการขุดสูงสุด 0.15-0.18 ไร่/ชั่วโมง-คน และมีเปอร์เซ็นต์การสูญเสีย 2.69-3.09% และเครื่องขุดแบบ ก. เมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องขุดแบบ ข. พบว่า เครื่องขุดแบบ ก. มีความเหมาะสมในการขุดในพื้นที่ปลูกทั้ง 3 รูปแบบของการปลูก โดยการขุดในพื้นที่ปลูกแบบยกร่องปลูกแถวเดี่ยวมีสมรรถนะในการทำงานสูงสุด คือ ความสามารถในการทำงาน 0.46-0.54 ไร่/ชั่วโมง ประสิทธิภาพเชิงพื้นที่ 73.12-73.41% และเปอร์เซ็นต์หัวที่สูญเสีย 10.10-12.92%