บทคัดย่องานวิจัย

ผลของการใช้รังสี UV-C ต่อการลด oxidative stress และการเกิดอาการสะท้านหนาวของผลกล้วยหอม

ณัฐชัย พงษ์ประเสริฐ Yoshihiko Sekozawa Sumiko Sugaya และ Hiroshi Gemma

วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 42 (3 พิเศษ): 208-211. 2554.

2554

บทคัดย่อ

ผลของการใช้รังสี UV-C ต่อการลด oxidative stress และการเกิดอาการสะท้านหนาวของผลกล้วยหอม

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลของการใช้รังสี UV-C ต่อการลด oxidative stressและการเกิดอาการสะท้านหนาวของผลกล้วยหอม โดยทำการฉายรังสี UV-C ให้กับกล้วยหอม [Musa (AAA group, Cavendish subgroup) cv. Cavendish]ที่ระดับ 0.03 กิโลจูลต่อตารางเมตร ก่อนทำการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 8 และ 25 องศาเซลเซียส พบว่ากล้วยหอมที่เก็บรักษาที่ 8 องศาเซลเซียส นั้นมีการแสดงอาการสะท้านหนาวและความรุนแรงของอาการเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาของการเก็บรักษา จากการทดลองยังแสดงให้เห็นอาการสะท้านหนาวที่เปลือกของกล้วยนั้นเกิดจากการสะสม และเพิ่มขึ้นของสารอนุมูลอิสระ เช่น ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ และ ซุปเปอร์ออกไซด์แอนไอออน การฉายรังสี UV-Cสามารถกระตุ้นกิจกรรมของเอนไซม์ superoxide dismutase, catalaseและ peroxidase, การกระตุ้นกิจกรรมของเอนไซม์เหล่านี้ส่งผลช่วยลดความสียหายในระดับเซลล์ที่เกิดจาก oxidative stressซึ่งสังเกตุได้จากการลดลงของการเสื่อมสลายของ DNA จากผลการทดลองแสดงให้เห็นถึงบทบาทและกลไกการทำงานของรังสี UV-C ในการป้องกันการเสื่อมสลายและรักษาเสถียรภาพของเซลล์ นอกจากนี้รังสี UV-C ยังสามารกระตุ้นกลไกการป้องกันตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระตุ้นกิจกรรมของเอนไซม์ที่เกี่ยวของกับกระบวนการต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งส่งผลป้องกันและลดการเกิดความเสียหายของเซลล์และ DNAอันเนื่องมาจาก oxidative stress ในระหว่างการเกิดอาการสะท้านหนาวของกล้วยหอม