บทคัดย่องานวิจัย

ผลของการเติมสารดูดซับเอทิลีนต่อคุณสมบัติของฟิล์มคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสจากฟางข้าว

รุ้งรัตน์ อัธยาศัยวิสุทธิ์ และ สุพัฒน์ คำไทย

วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 42 : 1 (พิเศษ) : 607-610 (2554)

2554

บทคัดย่อ

ผลของการเติมสารดูดซับเอทิลีนต่อคุณสมบัติของฟิล์มคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสจากฟางข้าว

 

กระบวนการผลิตฟิล์มดูดซับก๊าซเอทิลีนโดยคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสจากฟางข้าว เพื่อศึกษาผลของการเติมสารดูดซับเอทิลีนสองชนิดคือ ถ่านกัมมันต์ (A) และ สารซีโอไลท์ (B)ที่ระดับความเข้มข้น 4ระดับ ได้แก่ A1 - A4 และB1 - B4 g/m2 ต่อคุณสมบัติของฟิล์มคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสจากฟางข้าว จากการถ่ายภาพด้วยกล้องจุลทรรศ์อิเลคตรอนแบบส่องกราด ในแนวพื้นผิว และ แนวด้านตัดขวาง ที่กำลังขยาย x500 และ x1,000เพื่อศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาของฟิล์ม พบว่า อนุภาคสารดูดซับเอทิลีนทั้งสองชนิดมีการกระจายตัวอย่างสม่ำเสมอทั่วทั้งแผ่นฟิล์มโดยแทรกตัวอยู่ภายในช่องว่างของเนื้อฟิล์ม ส่งผลให้ฟิล์มมีความหนาแน่นสูงขึ้น สอดคล้องกับค่าการซึมผ่านของไอน้ำที่ลดลง และอัตราการดูดซับก๊าซเอทิลีนที่ลดลงเมื่อเพิ่มระดับความเข้มข้นของสารดูดซับ ทั้งนี้เนื่องจากก๊าซเอทิลีนไม่สามารถแทรกตัวเข้าไปภายในเนื้อฟิล์มได้ นอกจากนี้ยังพบว่าความหนาและเปอร์เซ็นต์การยืดตัวของฟิล์มแปรผันตรงกับระดับความเข้มข้นของสารดูดซับเอทิลีน และเมื่อพิจารณาคุณสมบัติทางกายภาพพบว่าค่าความต้านทานแรงดึงขาดของฟิล์มแปรผันกับรูปร่างและขนาดอนุภาคของสารดูดซับ อย่างไรก็ตามไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (p=0.05) ในการเพิ่มระดับความเข้มข้นของสารดูดซับระหว่างฟิล์มที่มีส่วนผสมของสารดูดซับชนิดเดียวกัน คุณสมบัติด้านความสามารถในการละลายน้ำของฟิล์มไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (p=0.05)ระหว่างฟิล์มในทุกระดับความเข้มข้นของการเติมสารทั้งสอง