บทคัดย่องานวิจัย

ผลของอุณหภูมิต่ำต่อการเกิดอาการสะท้านหนาวและการเสื่อมสภาพของดอกหน้าวัว 5 สายพันธุ์

สุรัสวดี พรหมอยู่ และ สายชล เกตุษา

การประชุมวิชาการพืชสวนแห่งชาติ ครั้งที่ 9. วันที่ 11-14 พฤษภาคม 2553. ณ โรงแรมกรุงศรีริเวอร์

2553

บทคัดย่อ

ผลของอุณหภูมิต่ำต่อการเกิดอาการสะท้านหนาวและการเสื่อมสภาพของดอกหน้าวัว 5 สายพันธุ์

 

หน้าวัวเป็นไม้ตัดดอกเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทยแต่มีข้อจำกัดด้านอายุการเก็บรักษาเนื่องจากอาการสะท้านหนาวเมื่อเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำอาการหลักที่พบคือปลีดอกเหี่ยวจานรองดอกเกิดสีม่วงและน้ำตาลการศึกษาผลของอุณหภูมิต่ำต่อการเกิดอาการสะท้านหนาวและการเสื่อมสภาพของดอกหน้าวัว5 สายพันธุ์โดยจำแนกตามความแตกต่างของสีจานรองดอกได้แก่‘Tropical’ (สีแดง) ‘Casino’ (สีส้ม) ‘Cheers’ (สีชมพู) ‘Angel’ (สีขาว) และ‘Pistache’ (สีเขียว) บรรจุแบบเปียกลงในกล่องกระดาษลูกฟูกเก็บรักษาที่อุณหภูมิ4 ºC และ12 ºC พบว่าหน้าวัวตัดดอกเก็บรักษาที่อุณหภูมิ4 ºC มีการพัฒนาอาการสะท้านหนาวเกิดขึ้นเร็วกว่าในการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ12 ºC ดอกหน้าวัว‘Cheers’ (สีชมพู) เป็นสายพันธุ์ที่อ่อนแอต่ออุณหภูมิต่ำมากที่สุดโดยปรากฏอาการสะท้านหนาว(ปลีดอกแห้งและจานรองดอกเปลี่ยนจากสีชมพูเป็นสีน้ำตาลเข้ม) ในวันที่4 ของการเก็บรักษาและสายพันธุ์นี้ยังพบการเพิ่มขึ้นของการรั่วไหลของประจุไฟฟ้าอัตราการหายใจเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงน้ำหนักสดและมีอายุการปักแจกันสั้นที่สุดคือ15 วันขณะที่อาการสะท้านหนาวการรั่วไหลของประจุไฟฟ้าอัตราการหายใจและเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงน้ำหนักสดมีค่าต่ำสุดในสายพันธุ์‘Casino’ (สีส้ม) และมีอายุการปักแจกันนาน28 วัน