บทคัดย่องานวิจัย

ผลของบรรจุภัณฑ์ในสภาพบรรยากาศดัดแปลงต่อคุณภาพผลแก้วมังกร (Hylocereus undatus) ใน

วรเศรษฐ์ ไตรสีห์ ดำรงพล คำแหงวงศ์ เสาวภา ไชยวงศ์ และ สุทธิวัลย์ สีทา

การประชุมวิชาการพืชสวนแห่งชาติ ครั้งที่ 9. วันที่ 11-14 พฤษภาคม 2553. ณ โรงแรมกรุงศรีริเวอร์

2553

บทคัดย่อ

ผลของบรรจุภัณฑ์ในสภาพบรรยากาศดัดแปลงต่อคุณภาพผลแก้วมังกร (Hylocereus undatus) ใน

 

ศึกษาผลของบรรจุ๓ณฑ์ในสภาพบรรยากาศดัดแปลง ต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผลแก้วมังกร (Hylocereus undatus)ในระหว่างการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 8 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 95 – 100 เปอร์เซ็นต์ โดยการบรรจุผลของก๊าซออกซิเจน (oxygen transmission rate; OTR) แตกต่างกัน ดังนั้น วิธีการที่ 1 บรรจุในถุง PP (850-950 cc/m2/day) วิธีการที่ 2 บรรจุในถุง PE (5,000-5,800 cc/m2/day) วิธีการที่ 3 บรรจุในถุง PE-M 2 (10,000-11,000 cc/m2/day) วิธีการที่ 4 บรรจุในถุง PE-M4 (12,000-15,000 cc/m2/day) และวิธีการที่ 5 คือ ชุดควบคุม (ไม่บรรจุในถุง) พบว่าผลแก้วมังกรที่บรรจุในถุง PE สามารถช่วยชะลอ อัตราการหายใจ การสูญเสียน้ำหนัก การเปลี่ยนแปลงความแน่นเนื้อภายในผล และสีของกลีบผลได้ดีกว่าชุดควบคุม ซึ่งปริมาณก๊าซ O2 และ CO2 ภายในถุง PE เท่ากับ 19 และ 9 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และมีค่าอัตราการซึมผ่านของไอน้ำเท่ากับ 0.33 g/m2/day และพบว่าการบรรจุในถุง PE มีลักษณะปรากฏดีที่สุดตลอดระยะเวลา 20 วันของการเก็บรักษา ในขณะที่ผลแก้วมังกรที่เก็บรักษาในถุงชนิด PP พบอาการผิดปกติที่เนื้อผลโดยแสดงอาการเนื้อใสและให้ค่าความแน่นเนื้อผลต่ำสุด ส่วนผลแก้วมังกรที่บรรจุในถุง PE-M 2 หรือ PE-M4 พบว่ามีคะแนนการเกิดโรคสูงสุดในวันที่ 20 ของการเก็บรักษา