บทคัดย่องานวิจัย

ผลของฟิล์มพลาสติกต่อสารระเหยของส้มโอพันธุ์ขาวน้ำผึ้งตัดแต่งพร้อมบริโภค

สุวลี ฟองอินทร์, ศศิธร ตรงจิตภักดี และ วรรณี จิรภาคย์กุล

วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 41 : 1 (พิเศษ) : 428-431 (2553)

2553

บทคัดย่อ

ผลของฟิล์มพลาสติกต่อสารระเหยของส้มโอพันธุ์ขาวน้ำผึ้งตัดแต่งพร้อมบริโภค

การศึกษาผลของฟิล์มพลาสติกต่อสารระเหยของส้มโอพันธุ์ขาวน้ำผึ้งตัดแต่งพร้อมบริโภค  โดยนำส้มโอตัดแต่งพร้อมบริโภค บรรจุลงในถาดพลาสติกชนิดพอลิพรอพิลีน (PP) ปิดผนึกด้วยฟิล์มพลาสติกพอลิเอทิลีนความหนาแน่นต่ำ (LDPE) หรือพอลิไวนิลคลอไรด์ (PVC) ที่มีอัตราการซึมผ่านแก๊สออกซิเจน (Oxygen Transmission Rate; OTR) เท่ากับ 4,068 และ 10,262 cc/m2/dayตามลำดับ จากนั้นนำตัวอย่างมาเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 5องศาเซสเซียส เป็นเวลา 2สัปดาห์  ทำการตรวจสอบสารระเหยของส้มโอตัดแต่งโดยใช้ gas chromatography-massspectrometry (GC-MS) ผลการทดลองพบว่า ปริมาณสารระเหยที่พบในส้มโอสด เช่น a-phellandrene (กลิ่นสดชื่น, กลิ่นฉุน และกลิ่นผลไม้ตระกูลส้ม), limonene (กลิ่นสดชื่น และกลิ่นผลไม้ตระกูลส้ม), sabinene(กลิ่นมินท์), germacrene D (กลิ่นมินท์) และ valencene (กลิ่นผลไม้ตระกูลส้ม) มีแนวโน้มลดลงตลอดระยะเวลาการเก็บรักษา โดยปริมาณสารระเหยของส้มโอตัดแต่งที่ปิดผนึกด้วยฟิล์มพลาสติกชนิด LDPE จะมีปริมาณน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับสารระเหยของส้มโอตัดแต่งที่ปิดผนึกด้วยฟิล์มพลาสติกชนิด PVC ตลอดระยะเวลาการเก็บรักษา  นอกจากนี้ยังพบว่าไม่สามารถตรวจพบสารระเหยบางชนิด เช่น a-phellandrene, limonene  และ  valenceneในส้มโอตัดแต่งที่ผ่านการเก็บรักษาเป็นเวลานาน 2 สัปดาห์  ได้ด้วย GC-MS