บทคัดย่องานวิจัย

ผลของรังสีแกมม่าที่มีต่อคุณภาพของผลมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง

อภิญญา วิสุทธิอมรกุล และ อนวัช สุวรรณกุล

วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 41 : 1 (พิเศษ) : 99-102 (2553)

2553

บทคัดย่อ

ผลของรังสีแกมม่าที่มีต่อคุณภาพของผลมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง

ผลมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทองได้จากสวนผู้ส่งออก จ.ฉะเชิงเทรา มีความแก่ประมาณ 90% นำไปฉายรังสีแกมม่าที่อัตรา 0, 0.4, 1.0 และ 1.5 kGy และเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 12°ซ. 3 วัน แล้วย้ายมาไว้ที่อุณหภูมิ 23+2 °ซ. ความชื้นสัมพัทธ์ 85-90% พบว่าผลมะม่วงที่ได้รับรังสีในทุกๆ อัตรามีการรั่วไหลของประจุของเปลือกมากกว่าผลมะม่วงที่ไม่ได้รับรังสี ตั้งแต่วันที่ 0 ถึงวันที่ 11 ของการเก็บรักษา ขณะที่เนื้อของผลมะม่วงมีการรั่วไหลของประจุมากกว่าในเปลือกผลมะม่วง แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับอัตราการฉายรังสี  ผลมะม่วงที่ได้รับรังสีทุกอัตรามีการสร้างเอทิลีนลดลงหลังการเก็บรักษาเป็นเวลา 5 วัน ในขณะที่พบว่าผลมะม่วงมีอัตราการหายใจเพิ่มมากขึ้นตามปริมาณรังสีที่ได้รับ  การฉายรังสีอัตรา 1.0 และ 1.5 kGyสามารถลดปริมาณและความรุนแรงของโรคแอนแทรกโนสและโรคขั้วผลเน่าในผลมะม่วงได้ ผลมะม่วงที่ได้รับรังสี 0.4 kGy  ไม่แสดงความเสียหายที่ผิวเปลือกภายนอก แต่พบรอยแผลความเสียหายที่ผิวเปลือกภายนอกเมื่อให้ปริมาณรังสีที่ 1.0 และ 1.5 kGyผลมะม่วงที่ได้รับการฉายรังสีทุกอัตรามีการสุกปกติ อย่างไรก็ตามพบว่าการฉายรังสีมีผลทำให้เนื้อผลมะม่วงนิ่มลงเร็วกว่าผลที่ไม่ได้รับการฉายรังสี