บทคัดย่องานวิจัย

ผลของ 1-methylcyclopropene ร่วมกับการใช้สารละลายต่ออายุการปักแจกันของดอกกุหลาบพันธุ์ไวท์คริสมาสต์

ทิพวรรณ จันทร์มณี ลำแพน ขวัญพูล และ วชิรญา อิ่มสบาย

วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 41 : 1 (พิเศษ) : 71-74 (2553)

2553

บทคัดย่อ

ผลของ 1-methylcyclopropene ร่วมกับการใช้สารละลายต่ออายุการปักแจกันของดอกกุหลาบพันธุ์ไวท์คริสมาสต์

 

การศึกษาผลการใช้สาร 1-methylcyclopropene (1-MCP)ร่วมกับการใช้สารละลายปักแจกันต่อการยืดอายุการปักแจกันดอกกุหลาบขาวพันธุ์ไวท์คริสมาสต์ มีทั้งหมด 3 การทดลองดังนี้ การทดลองที่ 1 ศึกษาสารละลายปักแจกันที่มีผลต่อการยืดอายุของดอกกุหลาบขาวพันธุ์ไวท์คริสมาสต์ พบว่าเอทานอล 5% + น้ำตาลซูโครส 5% และเคอร์คูมิน 0.015% + น้ำตาลซูโครส 5% สามารถยืดอายุปักแจกันได้ 9.9 และ 7.8 วัน ตามลำดับ ซึ่งนานกว่าดอกกุหลาบที่ปักแจกันในน้ำกลั่น (5.0 วัน) และพบว่าดอกกุหลาบที่ปักแจกันในเคอร์คูมิน 0.015% + น้ำตาลซูโครส 5%มีปริมาณจุลินทรีย์น้อยที่สุดเท่ากับ 41.67 ×106 cfu/มิลลิลิตร ขณะที่วิธีการควบคุมมีปริมาณจุลินทรีย์เท่ากับ 72.67×106 cfu/มิลลิลิตร การทดลองที่ 2 ศึกษาความเข้มข้น และเวลาที่ใช้ในการรมสาร 1-MCP ที่เหมาะสมในการยืดอายุการปักแจกัน พบว่าดอกกุหลาบที่รม 1-MCP ความเข้มข้น 500 nl/L นาน 12 ชั่วโมง ก่อนนำมาปักแจกันในน้ำกลั่น มีอายุปักแจกันนานที่สุด 6.2 วัน ขณะที่วิธีการควบคุมมีอายุปักแจกัน 5.5 วัน และการทดลองที่ 3 ศึกษาผลของ 1-MCP ร่วมกับสารละลายยืดอายุปักแจกันต่อคุณภาพของดอกกุหลาบ พบว่าดอกกุหลาบที่รม 1-MCP ความเข้มข้น 500 nl/L นาน และนำมาปักแจกันในเอทานอล 5% + น้ำตาลซูโครส 5%ทำให้ดอกกุหลาบมีอายุการปักแจกันนานที่สุด 10 วัน และมีการบานของดอก และการสูญเสียน้ำหนักน้ำเท่ากับ 6.98เซนติเมตรและ  7.19% ตามลำดับ  และมีอัตราการดูดน้ำ 2.42 มิลลิลิตร/ดอก/วัน  ขณะที่ดอกกุหลาบที่ปักแจกันในน้ำกลั่นมีอายุการปักแจกัน 7 วัน