บทคัดย่องานวิจัย

การควบคุมการเจริญของเชื้อราบนผิวเงาะโดยการใช้น้ำมันหอมระเหยจากอบเชยและกานพลู

นฤมล มาแทน และมนตรี อิสรไกรศีล

กำหนดการประชุมและบทคัดย่อ. การประชุมวิชาการพืชสวนแห่งชาติ ครั้งที่ 7, 26-30 พฤษภาคม 2551. ณ โรงแรม อมรินทร์ลากูน จ. พิษณุโลก. 391 หน้า

2551

บทคัดย่อ

การควบคุมการเจริญของเชื้อราบนผิวเงาะโดยการใช้น้ำมันหอมระเหยจากอบเชยและกานพลู

                การทดสอบประสิทธิภาพของน้ำมันหอมระเหยจากอบเชยและกานพลูในอัตราส่วน 5:1ต่อการยับยั้งเชื้อราที่จำแนกจากเปลือกเงาะที่เป็นโรคทั้งหมด 5 ชนิดคือ เชื้อรา Cladosporium sp., Gliocephalotichum microchlamydosporum, Aspergillus niger, Penicilium sp. และ Colletotrichum gloeosporioides โดยวิธีการผสมน้ำมันหอมระเหยลงในอาหารเลี้ยงเชื้อในความเข้มข้นตั้งแต่ 60 ถึง 210 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร พบว่า ปริมาณของน้ำมันหอมระเหยที่ต่ำสุดที่สามารถยับยั้งเชื้อราทุกชนิดได้คือ ปริมาณ 150 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ยกเว้นเชื้อรา Colletotrichum glorosporioides ที่ ต้องใช้ปริมาณน้ำมันหอมระเหย 180 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร นอกจากนั้นแล้วน้ำมันหอมระเหยจากอบเชยและกานพลูที่ความเข้มข้น 180 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ยังมีฤทธิ์ในการต้านทานการเจริญของเส้นใยของเชื้อในผิวเงาะที่เก็บรักษาไว้ ที่อุณหภูมิ 12.5 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 100 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลาอย่างน้อย 12 วัน จากการทดลองนี้แสดงให้เห็นว่าน้ำมันหอมระเหยจากอบเชยและกานพลูสามารถยับยั้ง การเจริญเติบโตของเชื้อราที่พบบนเปลือกเงาะได้และมีความเป็นไปได้ในการนำ น้ำมันหอมระเหยทั้งสองชนิดนี้มาใช้ยับยั้งเชื้อราบนเปลือกเงาะในระหว่างการ เก็บรักษา