บทคัดย่องานวิจัย

การเปลี่ยนแปลงกิจกรรมเอนไซม์ lipoxygenase และ antioxidant ระหว่างการเก็บรักษาใบแมงลัก (Ocimum × citriodourum) ที่อุณหภูมิต่ำ

ธิติมา วงษ์ชีรี และสายชล เกตุษา

กำหนดการประชุมและบทคัดย่อ. การประชุมวิชาการพืชสวนแห่งชาติ ครั้งที่ 7, 26-30 พฤษภาคม 2551. ณ โรงแรม อมรินทร์ลากูน จ. พิษณุโลก. 391 หน้า

2551

บทคัดย่อ

การเปลี่ยนแปลงกิจกรรมเอนไซม์ lipoxygenase และ antioxidant ระหว่างการเก็บรักษาใบแมงลัก (Ocimum × citriodourum) ที่อุณหภูมิต่ำ

                การเก็บรักษาใบแมงลัก (Ocimum × citriodourum) ในถุงพอลิเอทิลีน ในอุณหภูมิที่ทำให้เกิดอาการสะท้านหนาว (4 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 85%) ทำให้ใบแก่ปรากฏอาการสีน้ำตาลไวกว่าและรุนแรงกว่าใบอ่อน อาการสะท้านหนาวเกิดขึ้นก่อนที่บริเวณท้องใบและมีการยุบตัวของเซลล์ spongy ก่อนเซลล์ palisade โดยพบว่าเนื้อเยื่อใบแก่มีปริมาณ linoleic acid (18:2) น้อยกว่าเนื้อเยื่อใบอ่อนสองเท่า ในขณะที่มีปริมาณ linoleic acid (18:3) มากกว่าเนื้อเยื่อใบอ่อนตลอดระยะเวลาการเก็บรักษา ดังนั้นความไวของใบแมงลักต่ออุณหภูมิต่ำอาจมีความสัมพันธ์กับ linoleic acid มากกว่ากรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิดอื่น เนื้อเยื่อใบแก่มีกิจกรรมเอนไซม์ lipoxygenase และระดับ transcript ของ mRNA สูงกว่าเนื้อเยื่อใบอ่อน แสดงว่าใบแก่อาจมีกระบวนการ lipid oxidation มากกว่าใบอ่อน นอกจากนั้นยังพบว่าเนื้อเยื่อใบแก่มีกิจกรรมเอนไซม์ catalase และ peroxidase ต่ำกว่าเนื้อเยื่อใบอ่อน จากผลการทดลองแสดงว่าการเกิดอาการสะท้านหนาวของใบแมงลักมีความสัมพันธ์กับเอนไซม์ lipoxygenase และเอนไซม์ในระบบ antioxidant