บทคัดย่องานวิจัย

บทบาทของ cell wall hydrolases และการแสดงออกของยีนต่อการร่วงองดอกตูมกล้วยไม้สกุลหวาย (Dendrobium)ที่ตอบสนองต่อเอทิลีน

กนกพร บุญญะอติชาติ

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 105 หน้า. 2550.

2550

บทคัดย่อ

บทบาทของ cell wall hydrolases และการแสดงออกของยีนต่อการร่วงองดอกตูมกล้วยไม้สกุลหวาย (Dendrobium)ที่ตอบสนองต่อเอทิลีน

ช่อดอกกล้วยไม้สกุลหวายพันธุ์มีสทีน (‘Miss Teen’) วิลลี่ (‘Willie’) วรรณา (‘Wanna’) ลีน่า (‘Lina’) เยลโลริเวอร์ (‘Yellow River’) ปอมปาดัวร์ (‘Pompadour’) และ โซเนีย (‘Sonia’) ได้รับเอทีลีนที่ระดับความเข้มข้น 0.4 µL L-1เป็นระยะเวลา 24 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 25°Cทำให้มีการร่วงของดอกตูมและดอกบานภายในช่อดอกแตกต่างกัน  ดอกตูมของกล้วยไม้พันธุ์มีสทีนมีความไวต่อเอทิลีนมากกกว่าดอกตูมของกล้วยไม้พันธุ์เยลโลริเวอร์  เอทิลีนจากภายนอกกระตุ้นให้เกิดการร่วงเฉพาะในดอกตูมของกล้วยไม้พันธุ์เยลโลริเวอร์  เอทิลีนจากภายนอกกระตุ้นให้เกิดการร่วงเฉพาะในดอกตูมของกล้วยไม้พันธุ์มีสทีน ขณะที่กล้วยไม้พันธุ์เยลโลริเวอร์เกิดการร่วงทั้งดอกตูมและดอกบานเมื่อได้รับเอทิลีน สาร 1-Methylcyclopropene (1 -MCP)ยับยั้งการร่วงของดอกตูมกล้วยไม้พันธุ์มีสทีนได้อย่างสมบูรณ์ เอทิลีนกระตุ้นกิจกรรมเอนไซม์ b-1,4-Glucanase (cellulase)และ polygalacturonase (PG)ให้เพิ่มมากขึ้นในบริเวณ abscission zone (AZ) ขณะที่ 1 –MCPลดกิจกรรมของเอนม์ดังกล่าวทั้งในเนื้อเยื่อบริเวณ AZของทั้งดอกตูมและดกบานของกล้วยไม้พันธุ์มีสทีน ส่วนกิจกรรมเอนไซม์ pectin methylesterase (PME)ไม่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งในดอกตูมและดอกบาน การให้เอทิลีนกับช่อดอกกล้วยไม้พันธุ์เยลโลริเวอร์ไม่มีผลต่อการเพิ่มกิจกรรมเอนไซม์ b-1,4-GlucanasePGและ PMEในเนื้อเยื่อ AZ ของทั้งดอกตูมและดอกบาน การแสดงออกของยีน b-1,4-glucanase (Den-Cel)ในบริเวณ  AZ  ของดอกตูมในกล้วยไม้ทั้งสองพันธุ์  พบว่ามีการสะสมปริมาณ  mRNA ของยีน  (Den-Cel)  ทั้งในเนื้อเยื่อ AZ ของดอกตูมทั้งที่ได้รับเอทิลีนและไม่ได้รับเอทิลีน แต่เนื้อเยื่อ AZ  ที่ได้รับเอทิลีนมีการแสดงออกของยีน Den-Cel  มากกว่าเนื้อเยื่อ AZ ที่ไม่ได้รับเอทิลีน นอกจากนี้เนื้อเยื่อ AZ ดอกตูมกล้วยไม้พันธุ์มีสทีนที่ได้รับเอทิลีนมีการแสดงออกของยีน  Den-Cel  มากกว่าดอกตูมกล้วยไม้พันธุ์เยลโลริเวอร์ที่ได้รับเอทิลีน