บทคัดย่องานวิจัย

การใช้คลื่นเสียงตรวจสอบการพัฒนาการ การเข้าทำลายและพฤติกรรมของด้วงถั่วเขียว (Callosobruchus maculates (Fabricius))

บุญตา แจ่มกระจ่าง

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) กีฏวิทยา คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 61 หน้า. 2549.

2549

บทคัดย่อ

การใช้คลื่นเสียงตรวจสอบการพัฒนาการ การเข้าทำลายและพฤติกรรมของด้วงถั่วเขียว (Callosobruchus maculates (Fabricius))

การใช้คลื่นเสียงตรวจสอบการพัฒนาการ  การเข้าทำลายและพฤติกรรมของด้วงถั่วเขียงทำการทดลอง ณ ห้องปฏิบัติการสถานวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว และห้องปฏิบัติการกีฏวิทยา พบว่าด้วงถั่วเขียว (Callosobruchus maculates (Fabricius))เป็นด้วงปีแข็งขนาดเล็กตัวเต็มวัยมีสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลปนเทา  ปล้องท้องส่วนสุดท้ายมีขนาดใหญ่และมองเห็นได้ชัดเพราะปีกสั้นคลุมส่วนท้องไม่มิด  มีแถบหรือจุดสีน้ำตาลแก่บนปีกทั้งสองข้าง  ลำตัวเรียวแคบไปทางส่วนหน้าทำให้หัวเล็กและงุ้มเข้าหาส่วนอก  และปลายปีกมีสีดำ ตัวหนอนงอเป็นรูปตัวซี (C) มีขนาดลำตัวยาว 3.0-4.5 มิลลิเมตร ด้วงถั่วเขียงมีวงจรชีวิตในระยะไข่ ตัวหนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัย เฉลี่ย 5.25, 14.78, 4.42 และ 7.38 วัน ตามลำดับ ด้วงถั่วเขียวเป็นศัตรูพืชที่สำคัญของถั่วเขียว โดยเฉพาะตัวหนอนเป็นระยะเดียวที่ทำลายเมล็ดพืชทำให้เมล็ดพืชเป็นรู ตัวหนอนจะอาศัยกัดกินและเจริญเติบโตอยู่ภายในเมล็ดจนกระทั่งเป็นตัวเต็มวัย จากการตรวจวัดคลื่นเสียงที่เกิดจากการกินหรือการเคลื่อนที่ การลอกคราบ การเข้าดักแด้ ตลอดจนเสียงที่เกิดขั้นจากกิจกรรมต่างๆ ในวงจนชีวิตของด้วงถั่วเขียว ที่ช่วงความถี่ระหว่าง 1-10 kHz โดยการใช้ไมโครโฟน (condenser microphone) เป็นตัวรับสัญญาณเสียงและวิเคราะห์คลื่นเสียงด้วยเครื่อง sound analyzer (SA-30) พบว่า ลักษณะคลื่นเสียงของด้วงถั่วเขียวมีความสัมพันธ์กับระยะการเจริญเติบโต โดยระดับความดังของเสียงจะเพิ่มขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงของระยะการเจริญเติบโต สมการความสัมพันธ์ระหว่างระดับความดังเสียงของแมลงกับระยะการเจริญเติบโต คือ y = -0.0169x+ 0.7028x + 16.547 และ R= 0.8056  y คือ ระดับความดังของเสียง(เดซิเบล)  x คือ ระยะเวลาหลังจากวางไข่ (วัน) สมการความสัมพันธ์ระหว่างระดับความดังของเสียงกับจำนวนตัวหนอนแมลง คือ y =0.0036x + 21.127 และ R2   = 0.9729 เมื่อ y คือ ระดับความดังของเสียงแมลง(เดซิเบล) และ x คือ จำนวนแมลง (ตัว) สำหรับการประเมินความเสียงหายของเมล็ดถั่วเขียงจากการเข้าทำลายของด้วงถั่ว เขียว พบว่า เปอร์เซ็นต์ความเสียงหายโดยน้ำหนักมีความสัมพันธ์กับจำนวนแมลงและระดับความ ดังของเสียงที่ตรวจวัดได้สมการความสัมพันธ์ระหว่างระดับความดังของเสียงกับ เปอร์เซ็นต์ความเสียงหายโดยน้ำหนักจากการเข้าทำลายในระยะตัวหนอน คือ y = 0.6409x + 19.937 และ  R= 0.9171  เมื่อ y คือ ระดับความดังของเสียงแมลง (เดซิเบล) และ x คือ ความเสียหายโดยน้ำหนัก (เปอร์เซ็นต์) ส่วนการประเมินจำนวนประชากรของด้วงถั่วเขียวตัวเต็มวัย พบว่า ระดับความดังของเสียงมีความสัมพันธ์กับจำนวนแมลง โดยจำนวนแมลงที่เพิ่มขั้นส่งผลให้ระดับความดังของเสียงที่ตรวจวัดได้สูงขึ้นตาม สมการความสัมพันธ์ระหว่างระดับความดังของเสียงกับจำนวนแมลงในระยะตัวเต็มวัย คือ y = 0.0097x + 22.789 และ R= 0.9646 เมื่อ y คือ ระดับความดังของเสียงแมลง (เดซิเบล) และ x คือ จำนวนแมลง (ตัว) และจากการศึกษาคลื่นเสียงความถี่ต่างๆ ที่มีผลต่อพฤติกรรมในด้านการวางไข่ การกินอาหาร และการเพิ่มจำนวน ที่ความถี่ 2, 4 และ 8  kHz  ด้วยเครื่อง random noise generator  พบว่าคลื่นเสียงที่ระดับความถี่ 8  kHz  มีผลต่อปริมาณการวางไข่ เปอร์เซ็นต์ความเสียงหายโดยน้ำหนักของเมล็ดถั่วเขียว และจำนวนแมลงที่เกิดขึ้นใหม่ของด้วงถั่วเขียวมีค่าน้อยที่สุด