บทคัดย่องานวิจัย

การใช้สาร n-propyl dihydrojiasmonate และ กรด abscisic ภายหลังเก็บเกี่ยว ต่อการลดการเกิดอาการสะท้านหนาวของกล้วย (Musa sp., cv. ‘Grande Naine)

ณัฐชัยพงษ์ประเสริฐ

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว) คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.114 หน้า.2549.

2549

บทคัดย่อ

การใช้สาร n-propyl dihydrojiasmonate และ กรด abscisic ภายหลังเก็บเกี่ยว ต่อการลดการเกิดอาการสะท้านหนาวของกล้วย (Musa sp., cv. ‘Grande Naine)

กล้วยเป็นผลไม้ที่มีการตอบสนองไวต่อ อุณหภูมิต่ำ เป็นผลทำให้เกิดอาการสะท้านหนาวซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญระหว่างการเก็บรักษา และการรักษาคุณภาพภายหลังการเก็บเกี่ยว ดังนั้นการศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาและชีวเคมีของกล้วยระหว่างการ เกิดอาการสะท้านหนาวจึงเป็นแนวทางในการพัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวที่ เหมาะสมในการลดและป้องกันการเกิดอาการสะท้านหนาว จากการศึกษาพบว่า การเก็บรักษาผลกล้วยที่อุณหภูมิ 8 องศาเซลเซียส ส่งผลให้เกิดอาการสะท้านหนาวรุนแรงกว่าเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 13 องศาเซลเซียส เป็นอุณหภูมิที่เหมาะสมในการเก็บรักษากล้วย โดยสามารถชะลอการสุกและรักษาคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผลกล้วย นอกจากนี้ในการศึกษาผลของการใช้สาร n-propyl dihydrojiasmonate (PDJ) และกรด abscisic(ABA) ที่ระดับความเข้มข้น 1 และ 0.25มิลลิโมลาห์ ตามลำดับ  เพื่อลดการกฺดอาการสะท้านหนาวของผลกล้วยที่ระหว่างการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ  8OC เป็นระยะเวลา 3 สัปดาห์  พบว่า สารทั้งสองชนิดสามารถลดการเกิดอาการสะท้านหนาว โดยลดกิจกรรมเอนไซม์ polyphenol oxidase (PPO) นอกจากนี้สารทั้งสองชนิดนี้ยังมีผลต่อการกระตุ้นเอนไซม์ในกระบวนการต่อต้านอนุมูลอิสระ โดยกระตุ้นกิจกรรมของเอนไซม์ superoxide dismutase (SOD), catalaase (CAT) และ peroxidase (POD) การใช้สาร PDJ และ ABA ยังมีผลในการลดกิจกรรมเอนไซม์ lipoxygenase (LOX) และลดารสะสมของ molondialdehyde (MDA) ทำให้ช่วยรักษาเสถียรภาพของเมมเบรนในระหว่างการเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำ อย่างไรกตามการใช้สาร PDJ และ ABA มีผลกระตุ้นกระบวนการสุกของผลกล้วย โดยกระตุ้นการาสร้างก๊าชเอทิลีน อัตราการหายใจ และการเปลี่ยนแปลงสี นอกจากนี้ยังพบว่าสาร PDJ และ ABA มีผลต่อการลดลงของค่า chlorophyll fluorescence (Fv/Fm) และความแน่นเนื้อของผลกล้วย จาการศึกษาแสดงให้เห็นว่า สาร PDJ และ ABAสามารถลดการเกิดอาการสะท้านหนาวของผลกล้วยโดยกระตุ้นเอนไซม์ในกระบวนการต่อ ต้านอนุมูลอิสระ นอกจากนี้สารทั้งสองชนิดยังมีบทบาทต่อการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาและชีวเคมี โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีผลต่อกระบวนการสุกและการเสื่อมสลายของผลกล้วย