บทคัดย่องานวิจัย

การคัดเลือกและเพิ่มประสิทธิภาพของยีสต์ปฏิปักษ์ในการควบคุมโรคราสีเขียว (Penicillium digitatum) บนผลส้มพันธุ์สายน้ำผึ้ง

สรวงสวรรค์ เนียมแจ้ง

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) คณะเกษตรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.76 หน้า.2549.

2549

บทคัดย่อ

การคัดเลือกและเพิ่มประสิทธิภาพของยีสต์ปฏิปักษ์ในการควบคุมโรคราสีเขียว (Penicillium digitatum) บนผลส้มพันธุ์สายน้ำผึ้ง

จากการทดสอบประสิทธิภาพของเชื้อยีสต์ปฏิปักษ์ 11 ชนิด ในการควบคุมโรคราสีเขียวที่เกิดจากเชื้อรา Penicillium digitatumบนผลส้มพันธุ์สายน้ำผึ้ง พบว่ามีเชื้อยีสต์ปฏิปักษ์ 4 ชนิด ที่สามารถควบคุมโรคได้ดีคือ Candida utilis, Candida tropicalis, Debaryomyces hansenii และ Pichia sp. และพบว่าเชื้อยีสต์ทั้ง 4 ชนิดไม่สร้างสารพิษ (antibiotic) ในการควบคุมโรค เชื้อยีสต์ C. utilis มีประสิทธิภาพดีที่สุด สามารถยับยั้งการงอกของสปอร์และการเจริญของ germ tube ของเชื้อราสาเหตุโรคบนผลส้มพันธุ์สายน้ำผึ้ง

การปลูกเชื้อยีสต์ปฏิปักษ์ และเชื้อรา P. digitatum ในระยะเวลาที่แตกต่างกัน พบว่าการปลูกเชื้อยีสต์ก่อนเชื้อสาเหตุโรค 24 ชั่วโมง สามารถควบคุมโรคราสีเขียวบนผลส้มได้ดีกว่าการปลูกเชื้อสาเหตุโรคและเชื้อยีสต์พร้อมกัน หรือกรปลูกเชื้อยีสต์หลังเชื้อสาเหตุโรค 24 ชั่วโมง เชื้อยีสต์ C. utilisมีประสิทธิภาพสูงสุดในการควบคุมโรค สามารถควบคุมโรคได้ 100% เมื่อปลูกเชื้อยีสต์ก่อนเชื้อสาเหตุโรคเป็นระยะเวลา 12 และ 24 ชั่วโมง เชื้อยีสต์ C. utilis ที่ใช้ร่วมกับโซเดียมไบคาร์บอเนต 2 % มีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคราสีเขียวได้ดีกว่าการใช้เชื้อยีสต์ หรือโซเดียมไบคาร์บอเนต 2 % เพียงอย่างเดียว โดยเชื้อยีสต์ที่ใช้ร่วมกับโซเดียมไบคาร์บอเนต 2 % และ ไคโตแซน 0.02 % พบว่า เชื้อยีสต์ที่ผสมโซเดียมไบคาร์บอเนต 2 % ควบคุมโรคได้ดีกว่าเชื้อยีสต์ที่ใช้ร่วมกับโซเดียมไบคาร์บอเนต 2 % และไคโตแซน 0.02 % และเชื้อยีสต์ที่ใช้ร่วมกับไคโตแซน 0.2 % โดยควบคุมโรคได้ 100, 94.4 และ 66.6 % ตามลำดับ โดยการใช้ร่วมกับไคโตแซน ไม่มีผลต่อการเจริญและมีชีวิตของเชื้อยีสต์ บนผิวของผลส้ม