บทคัดย่องานวิจัย

การควบคุมโรคผลเน่าของลองกองภายหลังการเก็บเกี่ยวโดยใช้น้ำยางพาราสด

สุวรรณา ปัญญา

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) คณะเกษตรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.84หน้า.2549.

2549

บทคัดย่อ

การควบคุมโรคผลเน่าของลองกองภายหลังการเก็บเกี่ยวโดยใช้น้ำยางพาราสด

การสำรวจเชื้อราที่ติดมากับลองกองหลังการเก็บเกี่ยวจากสวนในเขตอำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี พบปริมารเชื้อราแยกจากลองได้มากที่สุด ได้แก่ Phomopsis spp. เท่ากับ 76.29%รองลงมา คือ เชื้อรา Lasiodiplodia theobromae, Cylindrocladium sp., Pestalotiopsis sp. และ Colletotrichum g!oeosporioidesเท่ากับ 60.48, 46.80, 43.46 และ 39.51% ตามลำดับ เมื่อนำเชื้อราดังกล่าวมาทดสอบความสามารถในการก่อให้เกิดโรคบนผลลองกอง ด้วยวิธีการทำแผล พบว่า เชื้อราทุกชนิดสามารถก่อให้เกิดโรคบนผลลองกองได้ แต่การปลูกเชื้อด้วยวิธีการไม่ทำแผล พบเชื้อราที่สามารถก่อให้เกิดโรคบนผลลองกองได้คือ Phomopsis spp.,  Lasiodiplodia theobromae และ Cylindrocladium sp. เมื่อศึกษาประสิทธิภาพของน้ำยางพาราสดในการยับยั้งการงอกสปอร์เชื้อราบนจานอาหารเลี้ยงเชื้อ พบว่า น้ำยางพาราสดที่ความเข้มข้น 12.5%สามารถยับยั้งการงอกสปอร์เชื้อรา Colletotrichum g!oeosporioidesและ Pestalotiopsis sp.ได้ดีที่สุด ที่ความเข้มข้น 25%สามารถยับยั้งการงอกสปอร์เชื้อรา Phomopsis spp.และ Lasiodiplodia theobromaeได้ดีที่สุด และที่ความเข้มข้น 50%สามารถยับยั้งการงอกเชื้อรา Cylindrocladium sp. ได้ดีที่สุด และ การทดสอบการยับยั้งการงอกสปอร์เชื้อราบนผิวของผลลองกอง พบว่า น้ำยางพาราสดที่ความเข้มข้น 100%มีประสิทธิภาพดีที่สุด การศึกษาประสิทธิภาพของน้ำยางพาราสดร่วมกับสารเคมีในการควบคุมโรคผลเน่าของลองกองก่อนระยะการเก็บเกี่ยว 7 วัน พบว่า การใช้น้ำยางพาราสดความเข้มข้น 12.5% ร่วมกับสารเคมี carbendazim ความเข้มข้น 500 ppm ลดการเกิดโรค11.05% ในขณะเดียวกันการใช้สารเคมีเพียงอย่างเดียวลดการเกิดโรค 14.04%และ การศึกาประสิทธิภาพของน้ำยางพาราสดร่วมกับการดัดแปลงบรรยากาศในการควบคุมโรคผลเน่าของลองกองภายหลังการเก็บเกี่ยวพบว่า น้ำยางพาราสดที่ความเข้มข้น 12.5% มีประสิทธิภาพดีที่สุดในการลดความสูญเสียของโรคผลเน่า

การตรวจสอบหาสารออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา ซึ่งแยกได้จากน้ำยางพาราสดโดยการปั่นเหวี่ยงด้วยความเร็วสูง ด้วยเครื่อง Ultracentrifuge นำแต่ละส่วนมาทดสอบบน Thin layer chromatographic plate (TLC) พบสารออกฤทธิ์สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา Colletotrichum g!oeosporioides  บนบริเวณตำแหน่งระยะ Rf 0.88