บทคัดย่องานวิจัย

ผลของสารเคมีและอุณหภูมิต่ำต่อคุณภาพของกุหลาบตัดดอก

วิมลศิริ กาวีต๊ะ

วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2549. 177 หน้า.

2549

บทคัดย่อ

ผลของสารเคมีและอุณหภูมิต่ำต่อคุณภาพของกุหลาบตัดดอก

การศึกษาผลของสารเคมีและอุณหภูมิต่ำต่อคุณภาพกุหลาบตัดดอก โดยนำดอกกุหลาบพันธุ์ดัลลัสมาพัลซิ่งในสารเคมี 5ชนิด คือ น้ำกลั่น (ชุดควบคุม) น้ำตาลซูโครส 10เปอร์เซ็นต์ AgNO3 150มก/ลิตร และกรดซิตริก 30 มก/ลิตร น้ำตาลซูโครส 10เปอร์เซ็นต์ 8-HQS 400มก/ลิตร และกรดซิตริก 30 มก/ลิตร น้ำตาลซูโครส 10เปอร์เซ็นต์8-HQS 200มก/ลิตร และ CoCl2 260มก/ลิตร น้ำตาลซูโครส 10เปอร์เซ็นต์ Al2(SO4)3 150มก/ลิตร และกรดซิตริก 30 มก/ลิตร นาน 12ชั่วโมง แล้วนำมาปักแจกันในน้ำกลั่น พบว่าดอกกุหลาบที่แช่ในสารเคมีที่ประกอบด้วยน้ำตาลซูโครส 10เปอร์เซ็นต์ AgNO3 150มก/ลิตร 8-HQS 400มก/ลิตร และ กรดซิตริก 30 มก/ลิตร มีอายุการปักแจกันนานที่สุด คือ 8.50 วัน และพบว่าสารเคมีทุกชนิดช่วยให้ดอกกุหลาบมีคุณภาพดีกว่าชุดควบคุม ในการศึกษาหาสารเคมีสำหรับปักแจกันที่เหมาะสมโดยนำดอกกุหลาบมาปักแจกันในสารเคมี 5ชนิด คือ น้ำกลั่น (ชุดควบคุม), น้ำตาลซูโครส 5เปอร์เซ็นต์ CaCl20.4 เปอร์เซ็นต์ 8-HQS 200มก/ลิตร, น้ำตาลซูโครส 5เปอร์เซ็นต์ AgNO3 50มก/ลิตร 8-HQS 200มก/ลิตร, น้ำตาลซูโครส 5เปอร์เซ็นต์ AgNO3 20มก/ลิตร และ น้ำตาลซูโครส 5เปอร์เซ็นต์ และ CoNO3 200มก/ลิตร พบว่าดอกกุหลาบที่ปักแจกันในสารเคมีที่ประกอบด้วยน้ำตาลซูโครส 5เปอร์เซ็นต์ CaCl20.4 เปอร์เซ็นต์ 8-HQS 200มก/ลิตร มีอายุการปักแจกันนานที่สุดคือ 10.27 วัน และพบว่าสารเคมีทุกชนิดช่วยให้ดอกกุหลาบมีคุณภาพดีกว่าชุดควบคุม เมื่อนำดอกกุหลาบมาพัลซิ่งในสารเคมีที่ให้ผลดีที่สุดซึ่งได้แก่ น้ำตาลซูโครส 10เปอร์เซ็นต์ AgNO3 150มก/ลิตร8-HQS 400มก/ลิตร และกรดซิตริก 30 มก/ลิตร นาน 12ชั่วโมง จากนั้นนำไปเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 2และ 5องศาเซลเซียสเป็นเวลา 3, 6, 9 และ 12 วัน แล้วนำมาปักแจกันในน้ำกลั่นและสารเคมีที่ให้ผลดีที่สุดซึ่งได้แก่ น้ำตาลซูโครส 5เปอร์เซ็นต์ CaCl20.4 เปอร์เซ็นต์ 8-HQS 200มก/ลิตร พบว่าดอกกุหลาบที่พัลซิ่งแล้วนำมาเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 2องศาเซลเซียสนาน 3 วัน แล้วนำออกมาปักแจกันในสารเคมีมีอายุการปักแจกันนานที่สุดและคุณภายดีที่สุด การนำน้ำปักแจกันของดอกกุหลาบมาหาปริมาณจุลินทรีย์ เมื่อปักแจกันเป็นเวลา 6วัน พบว่าในชุดควบคุม (น้ำกลั่น)มีปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ในน้ำปักแจกันเท่ากับ 5.62x 106 CFU/มล ในขณะที่กรรมวิธีอื่นไม่พบเชื้อจุลินทรีย์ การศึกษากายวิภาคของเนื้อเยื่อก้านดอกกุหลาบ 3บริเวณ คือ บริเวณส่วนโคนก้านดอก (0.5-1 เซนติเมตรจากโคนก้านดอก) บริเวณส่วนกลางก้านดอก (20-25 เซนติเมตรจากโคนก้านดอก) และบริเวณส่วนปลายก้านดอก (33-40 เซนติเมตรจากโคนก้านดอก) ที่ปักแจกันในน้ำกลั่นและสารเคมีเป็นเวลา 6วัน โดยเปรียบเทียบกับก่อนทำการปักแจกัน พบว่าลักษณะเนื้อเยื่อของก้านดอกกุหลาบทั้ง 3บริเวณที่เลือกมาทำการทดลองในกรรมวิธีที่ปักแจกันในน้ำกลั่นและสารเคมีไม่แตกต่างกับเนื้อเยื่อก้านดอกที่ตัดมาใหม่