บทคัดย่องานวิจัย

ความแปรปรวนของการพัฒนาเมล็ดและความสัมพันธ์กับคุณภาพข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105

มุทิตา หย่างถาวร

วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2548. 103หน้า.

2548

บทคัดย่อ

ความแปรปรวนของการพัฒนาเมล็ดและความสัมพันธ์กับคุณภาพข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความแปรปรวนของการพัฒนาเมล็ดและศึกษาการใช้สารเคมีที่สัมพันธ์กับความ แปรปรวนของการพัฒนาเมล็ดและคุณภาพข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ภายใต้การจัดการปลุกแบบนาดำและนาหว่านโดยทำการทดลองในฤดูปลุกข้าวนาปี 2546 ณ แปลงนาทดลองภาควิชาพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งได้แบ่งการทดลองออกเป็นสองส่วนดังนี้ ส่วนแรกเป็นงานทดลองในกรถางโดยใช้วิธีปลูกแบบปักดำ 3ต้นต่อกระถาง จำนวน 10กระถาง เพื่อศึกษาลักษณะความแปรปรวนของการพัฒนาเมล็ดที่เกิดขึ้นภายในรวงข้าว โดยใช้ลำดับการผสมเกสรของดอกข้าวเป็นหลักการสังเกต ส่วนที่สองเป็นงานทดลองในแปลงนา ทำการวางแผนการทดลองแบบ Split plot design มี 3ซ้ำ ให้รูปแบบการปลูกเป็น main plot ได้แก่ รูปแบบการปลุกนาดำและนาหว่าน ส่วนการพ่นสารเคมีเป็น sub plot ได้แก่ การฉีดพ่นสารโพแทสเซียมไอโอไดด์ที่ระยะกำเนินช่อดอกอัตรา 0.80กรัมต่อน้ำ 80 ลิตรต่อไร่ การฉีดพ่นจิบเบอเรลลินที่ระยะกำเนิดช่อดอกอัตราความเข้มข้น 100 พีพีเอ็มต่อน้ำ 80 ลิตรต่อไร่ การฉีดพ่นสารไดเมทธิพีนที่ระยะสุกแก่ทางสรีระอัตรา 120 มิลลิลิตรต่อน้ำ 80 ลิตรต่อไร่และไม่ทำการฉีดพ่นสารใดโดยศึกษาตัวอย่างของเมล็ดข้าวที่ตำแหน่งต่างๆ ของรวงคือส่วนปลาย กลางและโคนรวง

ผลการศึกษาจากงานส่วนแรกพบว่า ลำดับการบานของดอกข้าวภายในแต่ละรวงมีลำดับการผสมเกสรจากปลายรวงลงมาโคนรวง และการสะสมอาหารในเมล็ดเป็นไปตามลำดับก่อนและหลังการผสมเกสรของดอกย่อยภายใน รวง ระยะเวลาที่ใช้ในการผสมเกสรของเมล็ดภายในรวงเฉลี่ยต่อรวงเท่ากับ 4.8 วัน

ผลการศึกษางานส่วนที่สองพบว่าการพ่น สารเคมีทุกตำรับการทดลองไม่มีผลต่อการพัฒนาและเจริญเติบโตของเมล็ดข้าวทั้ง สองรูปแบบการปลูก แต่จำนวนวันเฉลี่ยของการสะสมน้ำหนักแห้ง น้ำหนักแห้งเมล็ดสะสมเฉลี่ยสูงสุดและอัตราการสะสมน้ำหนักแห้งเมล็ดเฉลี่ย ขึ้นอยู่กับตำแหน่งเมล็ดภายในรวงสำหรับผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตข้าวทั้ง สองรูปแบบการปลูกแตกต่างกัน โดยพบว่ารูปแบบการปลูกนาดำมีจำนวนหน่อต่อตารางเมตรเฉลี่ยสูงกว่าการปลูกแบบ นาหว่านคือ 249 และ 238หน่อต่อตารางเมตรตามลำดับ ซึ่งมีผลทำให้นาดำมีผลผลิตมากกว่าผลผลิตของข้าวที่ได้จากการปลูกแบบนาหว่านอย่างชัดเจนคือ 498 และ 350กิโลกรัมต่อไร่ตามลำดับ

ผลการศึกษาคุณภาพเมล็ดข้าวของรูปแบบการปลูกแบบนาดำพบว่าตำแหน่งของเมล็ดภายในรวงและการพ่นสารเคมีมีผลต่อเปอร์เซ็นต์ข้าวต้น โดยการพ่นสารจิบเบอเรลลินและไดเมทธิพีน ส่งผลให้มีเปอร์เซ็นต์ข้าวต้นสูง ซึ่งทั้งจิบเบอเรลลินและไดเมทธิพีนมีผลต่อความสม่ำเสมอของการพัฒนาเมล็ด และการพบว่าเมล็ดส่วนโคนรวงมีเปอร์เซ็นต์ข้าวต้นสูงเช่นกัน เนื่องจากมีระยะเวลาการดูดและคายความชื้นสั้นกว่าเมล็ดส่วนปลายรวงก่อนการเก็บเกี่ยว ส่วนในนาหว่านพบว่าเปอร์เซ็นต์ข้าวต้นไม่มีความแตกต่างกันในทุกตำรับของงานทดลอง

สำหรับผลทางด้านเปอร์เซ็นต์ความแข็ง เมล็ดข้าวในรูปแบบนาดำพบว่าการพ่นสารเคมีและตำแหน่งของเมล้ดภายในรวงมีผลต่อ ความแข็งเมล็ดโดยเมล็ดส่วนโคนรวงภายใต้การพ่นสารไดเมทธิพีนมีความแข็งเมล็ด สูง ส่วนในนาหว่านความแข็งเมล็ดไม่มีความแตกต่างกัน ด้านปริมาณสารหอม 2AP พบ ว่าความแตกต่างกันของการพ่นสารเคมีและตำแหน่งของเมล็ดภายในรวงทั้งสองรูปแบบ การปลูกโดยในรูปแบบนาดำพบว่าเมล็ดส่วนปลายรวงภายใต้การพ่นจิบเบอเรลลินมี ปริมาณสารหอม 2APลดลงเมื่อเทียบกับการไม่พ่นสารใด ส่วนในนาหว่านพบว่าเมล็ดส่วนโคนรวงภายใต้การพ่นจิบเบอเรลลินและเมล็ดส่วนปลายรวงภายใต้การพ่นไดเมทธิพีนมีปริมาณสารหอม 2APสูงกว่าเมื่อเทียบกับการไม่พ่นสารใด

ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า การพ่นสารเคมีไม่มีผลในด้านการเจริญเติบโตของข้าวทั้งสองรูปแบบการปลูก สำหรับคุณภาพเมล็ดพบว่าการปลูกแบบนาดำมีความแปรปรวนของการพัฒนาและคุณภาพ เมล็ดที่เกิดจากตำแหน่งเมล็ดภายในรวงที่เกิดจากการแตกหน่ออยู่ตลอกเวลาใน ระยะเวลาการเจริญเติบโตทางต้นและใบแต่สามารถลดความแปรปรวนได้โดยการพ่นสาร โพแทสเซียมไอโอไดด์หรือจิบเบอเรลลินซึ่งส่งผลให้ข้าวมีเปอร์เซ็นต์ข้าวต้น และความแข็งเมล็ดสูงขึ้น แต่การพ่นจิบเบอเรลลินส่งผลให้มีปริมาณสารหอม 2APลดลง ส่วนการปลูกแบบนาหว่านมีความสม่ำเสมอของการพัฒนาและคุณภาพเมล็ดโดยมี เปอร์เซ็นต์ข้าวต้นและความแข็งเมล็ดสูงซึ่งไม่ต้องพ่นสารเคมีเพื่อลดความแปร ปรวนแต่พบว่าการพ่นจิบเบอเรลลิน ส่งผลให้มีปริมาณสารหอม 2APสูงขึ้น