บทคัดย่องานวิจัย

แบบจำลองการทำนายความล้มเหลวของผลประกอบการโรงสีข้าวสหกรณ์การเกษตรในภาคเหนือของประเทศไทย

ปรเมศร์ อัศวเรืองพิภพ

วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์เกษตร) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.2546 .166 หน้า.

2546

บทคัดย่อ

แบบจำลองการทำนายความล้มเหลวของผลประกอบการโรงสีข้าวสหกรณ์การเกษตรในภาคเหนือของประเทศไทย

การศึกษาในครั้งนี้จะแสดงให้เห็นถึงการพัฒนาแบบจำลองการท้าทายความล้มเหลวแบบ Logitและแบบ Discriminant เพื่อ นำไปใช้ทำนายความล้มเหลวหรือไม่ล้มเหลวจากการประกอบการของโรงสีข้าวสหกรณ์ การ เกษตรในภาคเหนือของประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์ของการศึกษา คือ สร้างแบบจำลองการทำนายความล้มเหลวของโรงสีข้าวสหกรณ์การเกษตรในภาคเหนือของ ประเทศไทย โดยใซ้ข้อมูลทางการเงินและประสิทธิภาพของการจัดการที่ได้จากการวิเคระห์เส้น ห่อหุ้ม (DataEnvelopmentAnalysis : DEA) จาก 19 ตัวอย่างโรงสีข้าวของสหกรณ์ที่ล้มเหลวและไม่ล้มเหลว

แบบจำลองทางทฤษฎีสำหรับการศึกษาในครั้งนี้ประกอบด้วยโครงสร้าง 5 ส่วนที่จะชี้ให้เห็นถึงความสำเร็จหรือความล้มเหลวในโรงสีข้าวสหกรณ์ คือ ทุน (C) สินทรัพย์ (A)การจัดการ (M)ความสามารถในการทำกำไร (E) และ สภาพคล่อง (L) ตามหลัก CAMEL ซึ่งแบบจำลองประกอบด้วยตัวแปรอิสระ 9ตัว ได้แก่ อัตราส่วนหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ อัตราส่วนรายได้ต่อหนี้สินหมุนเวียน อัตราส่วนหมุนเวียนของรายได้ อัตราส่วนรายได้จากการขายข้าวต่อต้นทุน อัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุน อัตราส่วนรายได้ต่อสินทรัพย์หมุนเวียน อัตราส่วนผลตอบแทนจากทุนประสิทธิภาพของการจัดการแบบผลตอบแทนต่อขนาดคงที่ และประสิทธิภาพของการจัดการแบบผลตอบแทนต่อขนาดผันแปร

ผลการศึกษา พบว่าแบบจำลองการทำนายความล้มเหลวแบบ Logit มีความเที่ยงตรงในการทำนายสูงกว่าแบบจำลองการทำนายความล้มเหลวแบบ Discriminant โดยแบบจำลองการทำนายความล้มเหลวแบบ Logit มีความเที่ยงตรงในการทำนายได้ถูกต้องร้อยละ 95.77 เมี่อเปรียบเทียบกับ 93.75 % ของแบบจำลองการทำนายความล้มเหลวแบบ Discriminant

ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่ได้จากการศึกษา คือ ผู้บริหารของโรงสีข้าวสหกรณ์ควรจะใช้แบบจำลองการทำนายความล้มเหลวแบบ Logit และควรใช้ข้อมูลจากรายงานทางการเงินในการพยากรณ์ผลประกอบการด้วยแบบจำลองการทำนายความล้มเหลว 3 ตัว คือ อัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุน อัตราส่วนรายได้ต่อสินทรัพย์หมุนเวียน และ ประสิทธิภาพของการจัดการแบบผลตอบแทนต่อขนาดผันแปร