บทคัดย่องานวิจัย

เชื้อรา Macrophomina phaseolina ที่ติดมากับเมล็ดถั่วเขียว และถั่วเขียวผิวดำ: ผลต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์และการป้องกันกำจัด

ซามซูร รอฮอมาน

วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พืชไร่) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2544. 226 หน้า.

2544

บทคัดย่อ

เชื้อรา Macrophomina phaseolina ที่ติดมากับเมล็ดถั่วเขียว และถั่วเขียวผิวดำ: ผลต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์และการป้องกันกำจัด

การวิจัยนี้ได้ค้นคว้าขบวนการเกิดโรคของเชื้อรา Macrophomina phaseolina ในถั่วเขียวและถั่วเขียวผิวดำ โดยเน้นด้านผลกระทบต่อคุณภาพเมล็ด ความงอกของเมล็ดและสุขภาพของต้นกล้า รวมทั้งการหาวิธีการกำจัดเชื้อราที่ติดมากับเมล็ค โดยใช้เมล็ดถั่วเขียว 7 พันธุ์และถั่วขียวผิวดำ 2 พันธุ์ ซึ่งรวบรวมมาจากศูนย์วิจัยพืชไร่หลายแห่ง นำเมล็ดไปเพาะในกระดาษชื้นเพื่อตรวจหาเชื้อราต่างๆที่ติดมากับเมล็ด พบว่าในเมล็ดถั่วเขียวมีเชื้อรา M. phaseolina ติดมา 2.00-29.75 % ส่วนในถั่วเขียวผิวดำพบ 24.00-27.75% นอกจากนั้นยังพบเชื้อราอื่นๆที่ติดมากับเมล็ดถั่วเขียวอีก 12 ชนิค ได้แก่ Aspergillus  flavus, A. niger, A. terreus, Alternaria sp., Cladosporium sp., Culvularia sp., Fusarium sp., Penicillium sp., Collectotrichum sp., Drechslera sp., Rhizopus sp. and Myrothecium sp.  และในถั่วเขียวผิวดำ 10 ชนิด ได้แก่ Aspergillus  flavus, A. niger, A. terreus, Alternaria sp., Cladosporium sp., Culvularia sp., Fusarium sp., Penicillium sp., Collectotrichum sp. and Myrothecium sp. อย่างไรก็ตามเฉพาะเชื้อรา M. phaseolina เท่านั้นที่ทำให้ความงอกลดลง รากอ่อนมีแผล ส่วนของยอดอ่อนเจริญช้าและต้นอ่อนเน่าตาย ตามส่วนต่างๆที่เป็นโรคพบโครงสร้างหลายชนิดของเชื้อราเช่น เส้นใย pycnidia และ microsclerotia ขึ้นคลุมอยู่

จากการศึกษาความสามารถในการทำให้เกิดโรคของเชื้อรา M. phaseolina ด้วยวิธีการต่างๆพบว่าเชื้อรานี้มีความสามารถสูงในการทำให้เกิดโรคทั้งในถั่วเขียวและในถั่วเขียวผิวดำ บนสวนของพืชที่แสดงอาการของโรคพบโครงสร้าง pycnidia และ microsclerotia อยู่มากมาย และเมื่อนำเนื้อเยื่อส่วนที่เป็นโรคไปทำการพิสูจน์โรค (Koch’s postulates) บนอาหาร PDA พบว่าเป็นเชื้อรา M. phaseolina เชื้อรานี้พบอาศัยอยู่ในเปลือกหุ้มเมล็ด สำหรับการถ่ายทอดเชื้อผ่านทางเมล็ดด้วยวีธีการต่างๆ แสดงๆให้เห็นว่าเชื้อรา M. phaseolina  ถ่ายทอดจากเปลือกหุ้มเมล็ด ไปยังเมล็ดที่กำลังงอกและต้นกล้า เป็นสาเหตุให้เมล็ดเน่า เกิดรอยแผลที่รากอ่อน การเจริญขของยอดอ่อนชะงัก และมีรอยแผลบนใบเลี้ยงและใบจริง ผลต่อมาคือการตายของต้นกล้าเเละมีโครงสร้าง pycnidia และ microsclerotia ขึ้นอยู่บนส่วนของต้นที่ตาย สวนต้นกล้าบางส่วนที่ไม่แสดงอาการของโรคให้เห็นภายหลังการงอกแต่จะตายทั้งหมดภายในเวลา 21 วัน และพบโครงสร้างต่างๆของเชื้อราเจริญอยู่

เชื้อรา M. phaseolina มีผลต่อคุณภาพของเมล็ดและสุขภาพของต้นกล้าถัวเขียวและถั่ว เขียวผิวดำมาก จากการปลูกเชื้อราลงบนเมล็ดพืชทั้งสองชนิดพบวา มีจำนวนต้นกล้าผิดปกติเพิ่มขึ้นรวมทั้งความแข็งแรงของต้นกล้าที่วัดจากความ ยาวราก ความยาวต้นอ่อนและน้ำหนักแห้งลดลงอย่างมีนัยสำคัญู นอกจากเชื้อรานี้มีผลต่อความมีชีวิตและความเเข็งแรงของต้นกล้าแล้วยังมีผล ต่ออายุการเก็บรักษาเมล็ดด้วย จากการทดสอบคุณภาพโดยการเร่งอายุการเก็บรักษาเมล็ด พบต้นกว่ามีลักษณะผิดปกติมากขึ้น ผลการวิเคราะห์ทางด้านชีวเคมีในเมล็ดพืชที่มีเชื้อนี้อยู่พบว่ามีปริมาณ คาร์โบไฮเดรตลดลงแต่ปริมาณโปรตีนเพิ่มขึ้น

การหาวิธีการกำจัคเชื้อราที่ติตมากับเมล็ดโดยวิธีการต่างๆพบว่า วิธีการแรกการใช้น้ำร้อนสามารถลดปริมาณเชื้อราและช่วยเพิ่มความงอกของเมล็ดได้มาก เมล็ดที่ผ่านการแช่น้ำร้อนที่อุณหภูมิ 56°C และ 58°Cนาน 10 -15 นาที ได้ผลดีในเมล็ดถั่วเขียว ในขณะที่เมล็ดถั่วเขียวผิวดำต้องใช้เวลานาน 15-20 นาที วิธีที่สองการใช้สารเคมี โดยใช้สารเคมี 6 ชนิด ได้แก่ Thiram, Metalaxyl, Captan, Dithane M-45, Vitavax และ Benlate พบว่า Benlate, Dithane M-45 และ Thiram มีประสิทธิภาพสูงในการยับยั้งการเจริญของเชื้อราในอาหารเลี้ยงเชื้อ รวมทั้งเมื่อใช้คลุกเมล็ดก็พบว่ามีประสิทธิภาพสูงในการกำจัดเชื้อรา M. phaseolina  และ ช่วยให้ความงอกของเมล็ดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ วิธีสุดท้ายการใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ในการควบคุมเชื้อราในอาหารเลี้ยงเชื้อ และคลุกเมล็ดก่อนปลูก โดยจุลินทรีย์ทั้ง 6 ชนิดที่ใช้ทดสอบ ได้แก่ Pseudomonas aeruginosa, P. putida, Bacillus cereus, Trichoderma harzianum, T. hamatumและ T. virideพบว่า Trichodermaทั้ง species มีประสิทธิภาพสูงในการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา M. phaseolina ในอาหารเลี้ยงเชื้อ นอกจากนั้นเมื่อนำสปอร์ของเชื้อราปฏิปักษ์ทั้ง 3 ชนิดนี้คลุกเมล็ดก่อนปลูกพบว่าสามารถช่วยเพิ่มความงอกของเมล็ดให้สูงขึ้น

ดังนั้นจากการศึกษาการหาวิธีกำจัดเชื้อรา M. phaseolina ที่ติดมากับเมล็ดทั้ง 3 วิธีซึ่งได้เเก่ การใช้น้ำร้อน การใช้สารเคมี และการใช้เชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ โดยเฉพาะ Trichoderma spp. สามารถนำมาใช้ต่อต้านหรือควบคุมเชื้อรา M. phaseolina ได้ดี อย่างไรก็ตาม การจะนำวิธีการต่างๆนี้ไปแนะนำเกษตรกร ควรมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมในสภาพแปลงปลูกด้วย