บทคัดย่องานวิจัย

การช้ำของมะพร้าวอ่อนภายใต้การกด

ธนรัตน์ ศรีรุ่งเรือง และ บัณฑิต จริโมภาส

การประชุมวิชาการสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 9ประจำปี 2551,โรงแรมอิมพีเรียลแม่ปิง จ.เชียงใหม่,31 มกราคม –1 กุมภาพันธ์ 2551. 203 หน้า.

2551

บทคัดย่อ

การช้ำของมะพร้าวอ่อนภายใต้การกด

งานวิจัยนี้เพื่อที่จะประเมินการช้ำของผลมะพร้าวอ่อนเนื่องจากการกด วิธีการศึกษาประกอบด้วย การหาสมบัติการช้ำ เชิงกลของผลมะพร้าวอ่อนเนื่องจากการกดแบบช้า ทดสอบด้วยหัว Plunger 4 ขนาด คือ 12, 24, 48 และ 96 กรัม ผลมะพร้าว อ่อนพันธุ์น้ำหอมที่มีขนาดสม่ำเสมอ 3 ระยะการเจริญเติบโต (ระยะหนึ่งชั้น ชั้นครึ่ง และสองชั้น) การทดสอบแบ่งออกเป็น สองช่วงคือ การทดสอบก่อนเกิดการช้ำ (Below threshold) และการทดสอบหลังเกิดการช้ำ (Beyond threshold) ผลปรากฏว่า มะพร้าวอ่อนระยะหนึ่งชั้นครึ่ง เป็นระยะที่เหมาะสมต่อการเก็บเกี่ยว มีความไวต่อการเกิดรอยช้ำต่ำที่สุด ค่าปริมาตรช้ำที่จุดเริ่ม เกิดรอยช้ำและค่าพลังงานเท่ากับ 1823 ± 480 ลูกบาศก์มิลลิเมตร และ 1.66 ± 0.11 จูลตามลำดับ