บทคัดย่องานวิจัย

การอบแห้งข้าวกล้องงอกด้วยฟลูอิไดซ์เบดแบบอากาศร้อน

นฤบดี ศรีสังข์ สมเกียรติ ปรัชญาวรากร สมชาติ โสภณรณฤทธิ์ และ วารุณี วารัญญานนท์

วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร ปีที่ 40 ฉบับที่ 1 (พิเศษ) หน้า 449-452.2552.

2552

บทคัดย่อ

การอบแห้งข้าวกล้องงอกด้วยฟลูอิไดซ์เบดแบบอากาศร้อน

การอบแห้งข้าวกล้องงอกในปัจจุบันใช้เครื่องอบแห้งแบบตู้ ทำให้ต้องใช้เวลาอบแห้งที่นาน ด้วยเหตุนี้การอบแห้งด้วยเทคนิคฟลูอิไดซ์เซซันแบบอากาศร้อนจึงเป็นทางเลือกหนึ่งของวิธีการอบแห้ง การอบแห้งด้วยวิธีนี้มีประสิทธิภาพในการลดความชื้นอย่างรวดเร็วด้วยเวลาในการอบแห้งที่สั้น วิธีดังกล่าวได้นำมาใช้ในงานวิจัยนี้เพื่ออบข้าวกล้องงอก นอกจากระยะเวลาในการอบที่สั้นลง วิธีการอบแห้งแบบนี้สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของจุรินทรีย์ ด้วยการใช้อุณหภูมิสูงในการอบแห้ง คุณภาพของข้าวกล้องงอกภายหลังการอบแห้งจะพิจารณาในเรื่องของ สาร GABA ปริมาณของจุลินทรีย์ สมบัติของข้าวหุงสุก และการร้าวของเมล็ด เมล็ดข้าวกล้องงอกหลังการอบแห้งจะลดความชื้นลงมาเหลือ 18-20% (d.b) โดยใช้อุณหภูมิการอบอยู่ในช่วง 90-150OC หลังจากนั้นจึงนำมาเก็บในที่อับอากาศ และเป่าลมด้วยอากาศแวดล้อม จนกระทั่งความชื้นสุดท้ายลดลงเหลือ 13-15% (d.b)  ผลการทดลอง พบว่า อัตราการอบแห้งของข้าวกล้องงอกมีการลดลงของความชื้นแบบ exponential ปริมาณสาร GABA ในข้าวกล้องงอกไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมรนัยสำคัญกับอุณหภูมิในการอบแห้ง ปริมาณการปนเปื้อนของ แบคทีเรีย ยีสต์ และเชื้อราบนผิวของข้าวกล้องภายหลังการอบแห้งมีปริมาณต่ำกว่า 104 CFU/g และอุณหภูมิที่อบแห้ง150°Cเมล็ดข้าวจะมีการแตกร้าวอย่างรุนแรง ซึ่งส่งผลต่อความแข็ง และการคงรูปของเมล็ดข้าวภายหลังการหุง