บทคัดย่องานวิจัย

ผลของแบคทีเรียปฏิปักษ์และกรดซาลิไซลิกต่อโรคขั้วหวีเน่าของกล้วยหอมทอง

สังเวียน คำนึง ผ่องเพ็ญ จิตอารีย์รัตน์ อภิรดี อุทัยรัตนกิจ เฉลิมชัย วงษ์อารี และ สุพรรนี แก่นสาร อะโอกิ

วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร ปีที่ 40 ฉบับที่ 1 (พิเศษ). หน้า 377-380. 2552.

2552

บทคัดย่อ

ผลของแบคทีเรียปฏิปักษ์และกรดซาลิไซลิกต่อโรคขั้วหวีเน่าของกล้วยหอมทอง

ผลของแบคทีเรียปฏิปักษ์ Corynebacteriumaquaticum(BBA 004 และ BBA 015) Pseudomonas aeruginosa (BBA 017) ที่คัดแยกได้จากเปลือกกล้วยหอมทองและกรดซาลิไซลิกความเข้มข้น 1 2 3 และ 4 mg/ml ต่อการงอกของสปอร์เชื้อราสาเหตุของโรคขั้วหวีเน่า พบว่าแบคทีเรียปฏิปักษ์ BBA 004 และ BBA 015ยับยั้งการงอกของสปอร์เชื้อรา Colletotrichummusae ได้อย่างสมบูรณ์และยับยั้งสปอร์ Lasiodiplodiatheobromae และ Fusariumsp. ได้ดีกว่า BBA 017 กรดซาลิไซลิกทุกความเข้มข้นยับยั้งการงอกของสปอร์เชื้อรา C. musaeได้อย่างสมบูรณ์และยับยั้งการงอกของสปอร์เชื้อรา L. theobromae ได้ไม่แตกต่างกันทางสถิติ กรดซาลิไซลิกความเข้มข้น 2-4 mg/mlมีผลยับยั้งการงอกของสปอร์เชื้อรา Fusariumsp. ได้ไม่แตกต่างกันทางสถิติ การทาขั้วหวีกล้วยหอมทองด้วยแบคทีเรียปฏิปักษ์ กรดซาลิไซลิก แบคทีเรียปฏิปักษ์ร่วมกับกรดซาลิไซลิกหรือน้ำ (ชุดควบคุม)ทั้งก่อนและหลังการปลูกเชื้อราสาเหตุของโรคหวีเน่า พบว่า การทาขั้วหวีกล้วยหอมทองด้วยแบคทีเรียปฏิปักษ์ลดความรุนแรงของโรคขั้วหวี เน่าได้ดีกว่าทาด้วยกรดซาลิไซลิกหรือน้ำ และการทาด้วยแบคทีเรียปฏิปักษ์ก่อนปลูกเชื้อราสาเหตุโรคมีผลควบคุมโรคขั้ว หวีเน่าได้ดีกว่าการทาด้วยแบคทีเรียปฏิปักษ์หลังการปลูกเชื้อราสาเหตุโรค แต่การทาแบคทีเรียปฏิปักษ์ร่วมกับกรดซาลิไซลิกไม่สามารถควบคุมโรคขั้วหวีเน่าของกล้วยหอมทองได้