บทคัดย่องานวิจัย

ประสิทธิภาพของสารสกัดหยาบจากใบขี้เหล็กร่วมกับการใช้บรรจุภัณฑ์ต่อการควบคุมโรคแอนแทรกโนสของกล้วยหอมทองในระหว่างการเก็บรักษา

อัจฉรา ฉัตรแก้ว ผ่องเพ็ญ จิตอารีย์รัตน์ และ อภิรดี อุทัยรัตนกิจ

วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร ปีที่ 40 ฉบับที่ 1 (พิเศษ) หน้า 285-288. 2552.

2552

บทคัดย่อ

ประสิทธิภาพของสารสกัดหยาบจากใบขี้เหล็กร่วมกับการใช้บรรจุภัณฑ์ต่อการควบคุมโรคแอนแทรกโนสของกล้วยหอมทองในระหว่างการเก็บรักษา

การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดหยาบจากใบขี้เหล็กในการควบคุมเชื้อราColletotrichummusae สาเหตุของโรคแอนแทรคโนสของกล้วยหอมทอง โดยเลี้ยงเสนใยและสปอร์เชื้อราบนอาหาร Potato dextrose ager (PDA) ที่ผสมสารสกัดหยาบจากใบขี้เหล็กที่ความเข้มข้น 0 (ชุดควบคุม), 500, 1,000, 5,000 และ 10,000 ppm ยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อราได้ดีที่สุด โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของโคโลนีเท่ากับ 26.53 มิลลิเมตร ในขนาดที่ชุดควบคุมมีค่าเท่ากับ 49.35 มิลลิเมตร และสามารถยับยั้งการงอกของสปอร์เชื้อราได้ดีที่สุดคือเท่ากับ 77.60% เมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุม การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัด ถุงแอ็คทีฟ (AP) และถุงโพลีเอทิลีน (PE) เพื่อควบคุมโรคแอนแทรกโนสบนผลกล้วยหอมทองโดยการทำแผลบนผลและปลูกด้วยสปอร์ของเชื้อรา ก่อนทาด้วยสารสกัดหยาบความเข้มข้น 10,000 ppmและบรรจุลงในถุง AP หรือ PEที่เจาะรู (6 รู/ถุง)เก็บรักษาที่ 13OCนาน 20 วัน แล้วย้ายมาวางที่อุณหภูมิห้องนาน 7 วัน พบว่ากล้วยหอมทองที่ทาด้วยสารสกัดหยาบและบรรจุในถุง APมีความรุนแรงของการเกิดโรคลดลงและมีการเกิดโรคเพียง 8%รองลงมาคือ กล้วยหอมทองที่บรรจุในถุง AP และ PE ตามลำดับ ส่วนกล้วยหอมทองที่ทาด้วยสารสกัดหยาบและบรรจุในถุง PE มีการเกิดโรคสูงที่สุดคือ 83%