บทคัดย่องานวิจัย

การคงสภาพสีกลีบดอกและอายุการปักแจกันของบัวมงคลอุบลที่ทำการพัลซิ่งในสารละลายซูโครส

มานะบุตร ศรียงค์ มัณฑนา บัวหนอง ทรงศิลป์ พจน์ชนะชัย อภิรดี อุทัยรัตนกิจ ณ นพชัย ชาญศิลป์ และ เฉลิมชัย วงษ์อารี

วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร ปีที่ 40 ฉบับที่ 1 (พิเศษ) หน้า241-244. 2552.

2552

บทคัดย่อ

การคงสภาพสีกลีบดอกและอายุการปักแจกันของบัวมงคลอุบลที่ทำการพัลซิ่งในสารละลายซูโครส

บัวในกลุ่มอุบลชาติ (Nymphaeassp.)เป็นบัวที่มีสีสันสวยงาม แต่มีปัญหาการเปลี่ยนแปลงสีของกลีบดอกเร็ว และอายุการปักแจกันสั้น การศึกษาอายุการปักแจกันของดอกบัวพันธุ์มงคลอุบลที่ทำการเพิ่มสารอาหาร (การทำพัลซิ่ง)โดยการปักในสารละลายซูโครสความเข้มข้นแตกต่างกัน นาน 4 ชั่วโมง ก่อนนำมาปักในน้ำกลั่นและเก็บรักษาในห้องควบคุมอุณหภูมิที่ 25±2 องศา เซลเซียส และทำการทดสอบการเปลี่ยนแปลงของสรีระวิทยา ความคงสภาพสีกลีบดอก และอายุการปักแจกัน พบว่าในระหว่างการปักแจกันดอกบัวมงคลอุบลมีน้ำหนักลดลงเล็กน้อยและไม่มีความ แตกต่างระหว่างชุดการทดลอง โดยดอกบัวมงคลอุบลมีรูปแบบการหายใจและการผลิตเอทิลีนเป็นแบบ climactericซึ่งทุกชุดการทดลองจะมีอัตราการผลิตเอทิลีนสูงสุดในชั่วโมงที่ 48 ในขนาดดอกที่ทำพัลซิ่งด้วยน้ำกลั่น (ชุดควบคุม)มีอัตราการหายใจสูงสุดในชั่วโมงที่ 12 ส่วนดอกบัวที่ทำการพัลซิ่งในสารละลายซูโครสความเข้มข้นร้อยละ 2 และ 4 ที่จะเกิดขึ้นในชั่วโมงที่ 24 ระหว่างการปักแจกันสีเหลืองส้มของกลีบดอกบัวที่ปักแจกันจะอ่อนลงสัมพันธ์กับค่า hue anglesที่ลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชุดที่ทำการพัลซิ่งในสารละลายซูโครส อย่างไรก็ตามปริมาณแคโรทีนอยด์ในกลีบดอกมีความแตกต่างกันในแต่ละชุดการทดลองในวันที่ 1 และ 3 ของการปักแจกัน ดอกบัวมงคลอุบลที่ทำการพัลซิ่งด้วยสารละลายซูโครสความเข้มข้นร้อยละ 0 2 และ 4 มีอายุการปักแจกันไม่เกิน 3 วัน แต่สารละลายซูโครสความเข้มข้นร้อยละ 8 จะมีอายุการปักแจกันเพียง 1 วัน