บทคัดย่องานวิจัย

การทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อรา Colletotrichumgloeosporioides (Penz.) สาเหตุโรคแอนแทรคโนสมะม่วงของสารสกัดจากพืชสมุนไพรตัวทำลายที่แตกต่าง

วิไลรัตน์ ศรีนนท์ ธีรพล วันทิตย์ และเกษม สร้อยทอง

วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร ปีที่ 40 ฉบับที่ 1 (พิเศษ).หน้า 75-78. 2552.

2552

บทคัดย่อ

การทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อรา Colletotrichumgloeosporioides (Penz.) สาเหตุโรคแอนแทรคโนสมะม่วงของสารสกัดจากพืชสมุนไพรตัวทำลายที่แตกต่าง

เชื้อราสาเหตุของโรคแอนแทรคโนสของมะม่วง พบว่ามีสาเหตุมาจากเชื้อรา Colletotrichumgloeosporioides (Penz.) การทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดจากพืชสมุนไพร 10ชนิด โดยใช้สารสกัดผสมลงในอาหารเลี้ยงเชื้อ potato dextrose agar (PDA) 5 ระดับความเข้มข้น คือ 50 500 5000 10000 และ 20000 µg/ml และไม่ผสมสารสกัด (0 µg/ml) พบว่าสารสกัดจากพืชทุกชนิด ที่สกัดด้วยตัวทำละลายต่างชนิดกัน สามารถยับยั้งการสร้างสปอร์ของเชื้อโรคได้ ซึ่งมีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง (P=0.01) เมื่อมีความเข้มข้นสูงขึ้น โดยพบว่า สารสกัดจากข่า ที่สกัดด้วย hexane dichlormethame ethyl acetate acetone และ ethanol มีฤทธิ์ยังยั้งเชื้อราได้ 100 เปอร์เซ็นต์ รองลงมา ได้แก่ สารสกัดกระเทียม และใบดีปลี ที่สกัดด้วยตัวทำละลายดังกล่าว (82.50-100%) ที่ความเข้มข้น 5000 µg/ml ขึ้นไป นอกจากนี้สารสกัดผลดีปลี ตะไคร้ หน่อไม้ และสาบเสือ ที่สกัดด้วยตัวทำละลายที่มีขั้วน้องถึงปานกลางบางชนิด ที่ความเข้มข้น 5000 µg/mlยับยั้งโรคได้ 100 เปอร์เซ็นต์ เช่นเดียวกัน ยกเว้นสารสกัดหน่อไม้และสอบเสือ ที่สกัดด้วย hexane ทุกความเข้มข้นยับยั้งได้น้อย สารสกัดหอมหัวใหญ่ ที่สกัดด้วย dichlormethameและ acetone ที่ความเข้มข้น 10000-20000 µg/ml รวมทั้งสารสกัดจากขิง และใบรัก ที่สกัดด้วย ethyl acetate และacetoneมีผลยับยั้งได้ดี ยกเว้นสารสกัดจากหอมหัวใหญ่และขิงที่สกัดด้วยน้ำ ในขณะที่สารสกัดจากกระเพราป่า และดอกรัก ยั้บยั้งได้ดีในตัวทำละลายบางชนิดเท่านั้น แต่ส่วนใหญ่ให้ผลยับยั้งระดับปลานกลาง และต่ำ